โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการเกาะติดของดอกหญ้าบุ้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณิชา วรรยาต
มรรษมน โหราพงศ์
วริษา สิริสุวรรณทัศน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการเกาะติดของดอกหญ้าบุ้ง โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของดอกหญ้าบุ้งที่เอื้อประโยชน์ต่อการเกาะติดกับวัสดุ ความแก่-อ่อนของดอกหญ้าบุ้งที่เกาะติดกับวัสดุที่ดอกหญ้าบุ้งสามารถเกาะติดได้และไม่สามารถเกาะติดได้ดีที่สุด สารที่เคลือบบนดอกหญ้าบุ้ง ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การที่ดอกหญ้าบุ้งสามารถเกาะติดกับวัสดุบางชนิดได้เป็นเพราะมีลักษณะ โครงสร้างบางประการที่เอื้อประโยชน์ คือ การมีหนามแข็งแหลมรอบดอก บริเวณตัวดอกและหนามมีขนเล็กและบางเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณหนามมีแง่งเล็ก ๆ ที่ทำมุมแหลมกับโคนหนาม ซึ่งมีอยู่ทั่วทั้งหนาม นอกจากนี้ดอกหญ้าบุ้งยังมีสารที่มีลักษณะเหนียวเคลือบอยู่ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเกาะติดกับวัดสุอื่น