โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องส่วนต่างๆ ของเงาะกับการผลิตยางแผ่น

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "ส่วนต่างๆ ของเงาะกับการผลิตยางแผ่น" มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงระยะเวลาที่ใช้ในการแข็งตัวของยาง คุณภาพยางแผ่น และภาวะการลดต้นทุนการผลิตยางแผ่น ได้ทำการทดลองโดยใช้กรดฟอร์มิค กรดฟอร์มิคผสมเปลือกเงาะบด กิ่งเงาะบดและใบเงาะบด ใส่ลงในน้ำยางผลปรากฏว่าส่วนต่างๆ ของเงาะมีผลทำให้น้ำยางแข็งตัวได้เร็วกว่าใช้กรดฟอร์มิคเพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีผลต่อการทำยางแผ่น เพราะยางที่ได้มีความหนามาก นอกจากนี้คุณภาพทางด้านสีของยางตำกว่ามาตรฐาน จึงทำให้ราคายางต่ำมาก มีผลให้รายได้ของชาวสวนยางลดต่ำลง ส่วนทางด้านความหนืดและความอ่อนตัวของยางนั้น มีความแตกต่างกันน้อยไม่ว่าจะใช้กรดฟอร์มิค หรือกรดฟอร์มิคผสมกับส่วนต่างๆ ของเงาะ จากความรู้ที่ได้นี้สามารถนำไปเผยแพร่ให้ชายสวนยางเลิกใช้เปลือกเงาะและส่วนต่างๆ ของเงาะผสมในกรดฟอร์มิคเพื่อช่วยให้น้ำยางแข็งตัวเร็วขึ้น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิติมา บัวชื่น

  • อลิสา อาวภาค

  • เสาวภา สีตะพงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • มัณฑนี ตันติเสวี

  • สุนทรี รัตนสกาววงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4 (9) p92,93

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • คุณภาพยางแผ่น น้ำยางแข็งตัว

  • ผลิตยางแผ่น ใช้ส่วนต่างๆ ของเงาะ

  • โครงงานวิทยาศาสตร์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์