โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาประสิทธิภาพสารไคโตซานจากโครงร่างแข็งของสัตว์ทะเลในการดูดซับตะกอนในน้ำ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโครงร่างแข็งของสัตว์ทะเล ได้แก่ เปลือกกุ้ง กระดองปู แกนหมึกแต่ละชนิดในการสกัดสารไคโตซาน ศึกษาอัตราส่วนเหมาะสมของสารไคโตซานต่อยางพาราในการอัดแท่ง ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการแช่ไคโตซานแท่งในการดูดซับน้ำตะกอนในน้ำ และทดสอบประสิทธิภาพไคโตซานจากโครงร่างแข็งของสัตว์ทะเลที่มีผลต่อการดูดซับตะกอนในน้ำ จากการทดลองพบว่า สารสกัดไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีประสิทธิภาพที่สุดในการตกตะกอนในน้ำ มีลักษณะของน้ำที่ดีที่สุด มีค่า pH เท่ากับ 7 สีของน้ำมีสีเหลืองอ่อน และยังพบอีกว่า อัตราส่วนของสารสกัดไคโตซานต่อยางพาราและระยะเวลาในการแช่สารไคโตซานอัดแท่งมีผลต่อการตกตะกอนในน้ำที่แตกต่างกัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศลิษา ไพโรจน์
สุภาณี เมธาวันทนากร
อรนลิน หออัฎาวุธ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ตะกอน การดูดซับ
สิ่งประดิษฐ์
ไคโตซาน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์