โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพแผ่นอัดจากวัสดุทดแทนจากธรรมชาติ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นอัดที่ทำจากวัสดุ 5 ชนิด ได้แก่ กก, ซังข้าวโพด, กาบกล้วย, ขี้เลื่อย และผักตบชวา เพื่อหาวัสดุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงแผ่นไม้อัดที่ใช้กันตามท้องตลาดมากที่สุด จากการทดทองทั้งหมด 4 ตอน พบว่า แผ่นอัดจากซังข้าวโพดมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ 0.773 g/cm3 แผ่นอัดจากกาบกล้วยมีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำที่ดีที่สุด ร้อยละ 108.12 แผ่นอัดจากผักตบชวา มีคุณสมบัติการดูดความร้อนดีที่สุด ร้อยละ 129.53 และแผ่นอัดจากกาบกล้วยมีการพองตัว เมื่อแช่ในน้ำเป็นระยะเวลา 5-10 วัน มากที่สุด เปลี่ยนแปลง 7.3 mm พบว่าแผ่นอัดแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและเหมาะต่อการนำไปใช้ในด้านต่างๆที่ต่างกัน โดยแผ่นอัดซังข้าวโพดเหมาะต่อการนำไปใช้เป็นวัสดุที่ต้องการความคงทนและแข็งแรงมากที่สุด แผ่นอัดกกเหมาะต่อการนำไปใช้ทำเป็นวัสดุที่อยู่ในสภาพที่มีความชื้นสูงได้ดีที่สุด แผ่นอัดกาบกล้วยเหมาะต่อการนำไปใช้เป็นวัสดุสำหรับทำฉนวนความร้อน และแผ่นอัดกกเหมาะต่อการน้ำไปใช้ทำเป็นวัดุที่ต้องสัมผัสน้ำอยู่เป็นประจำ แผ่นอัดขี้เลื่อยเหมาะแก่การนำไปใช้ในงานทั่วไปใช้ในงานทั่วไปมากที่สุดและมัคุณสมบัติใกล้เคียงไม้อัดปาร์ติเกิล(ชุดควบคุม)มากที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชัชชัย ปรีชาวุฒิ
ณภัทร อภิญญาชน
ศิล ศัลย์วิเศษ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทวิทย์ประยุกต์ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
วัสดุทดแทน
สิ่งประดิษฐ์
แผ่นอัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์