โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเปรียบเทียบปริมาณการสกัดสารเพคตินที่ได้จากเปลือกด้านในและเมล็ดของทุเรียนพันธุ์กระดุม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฐนิช ทิพยรัตน์สุนทร

  • ธนิตตา ดลพิพัฒน์พงศ์

  • พรธีรา มณฑา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ขวัญใจ สุวรรณ

  • วชิรวิชญ์ โภคเกียรติพัฒนา

  • สุปราณี สุขประเสริฐ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนระยองวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทกายภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เปลือกทุเรียน

  • เมล็ดทุเรียน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันเพคตินได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลาย โดยที่ประเทศไทยนั้นยังคงมีการผลิตเพคตินที่ค่อนข้างน้อยอยู่ เมื่อนำไปเทียบกับปริมาณที่ต้องการใช้ โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อสกัดเพคตินจากเปลือกและเมล็ดของทุเรียนพันธุ์กระดุม โดยใช้กรดไฮโดรคลอริก ซึ่งการทดลองเป็นออกเป็นสองชุดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียนและการสกัลจากเมล็ดทุเรียน โดยนำมาสกัดด้วยกรอไฮโดรคลอริก ที่ให้ความเข้มข้นแตกต่างกัน ได้แก่ ความเข้มข้น 5 มิลลิโมลาร์, ความเข้มข้น 20 มิลลิโมลาร์, ความเข้มข้น 50 มิลลิโมลาร์ และที่ความเข้มข้น 100 มิลลิโมลาร์ ตามลำดับ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า ชุดการทดลองทั้งสองให้ผลที่ต่างกัน โดยเปลือกทุเรียนสายพันธุ์กระดุมสามารถสกัดเพคตินออกมาได้มากกว่าเมล็ดในปริมาณที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งปรากฎว่าเปลือกทุเรียนสายพันธุ์กระดุมที่สกัดโดยกรดไฮโดรคลอริกที่ความเข้มข้น 100 มิลลิโมลาร์ สามารถสกัดเพคตินออกมาได้ในปริมาณที่มากที่สุด และในการศึกษาขั้นต่อไป ควรมีการทดสอบในเรื่อง คุณสมบัติทางเคมีของเพคติน เพื่อที่จะตรวจสอบได้อย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือว่าสารที่สกัดได้ออกมานั้นเป็นเพคตินจริง