โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผักโขมเพิ่มผลผลิต

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดับที่ คง ป143/2539 โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี เร่งผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ในเวลาสั้นลง และนำวัชพืชมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยผู้ทำโครงงานทำการศึกษาชนิดของฮอร์โมนที่มีอยู่ในยอดผักโขม จากการศึกษาพบว่า ฮอร์โมนที่สามารถเร่งการขยายตัวของรากพืช กระตุ้นการเกิดรากและเร่งการเจริญเติบโต คือ ออกซิน ซึ่งมีมากบริเวณยอดพืช และที่ยอดพืชยังมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน และเอทิลีน ซึ่งมีผลยับยั้งการเกิดรากใหม่ แต่ก็มีผลต่อการเจริญของพืชเช่นกัน จึงได้ทำการทดสอบเพิ่มเติมว่า ฮอร์โมนที่พบมากเป็นฮอร์โมนชนิดใด โดยวิธี aena curature bioassa กับข้าวโพด พบว่าโคลิออฟไทล์ (coleoptile) ของพืชโค้งงอกกว่าเดิม เมื่อใช้สารสกัดจากยอดอ่อนของผักโขม และเมื่อนำสารนี้ไปกระตุ้นรากพบว่า เมล็ดที่แช่สารสกัดจากยอดผักโขมที่มีความเข้มข้นของยอดผักโขม 20 กรัม ต่อน้ำ ปริมาตร 350 ลูกบาศก์เซนติเมตร พบว่ามีรากงอกเร็วขึ้นและมีปริมาณรากมากเมื่อนำไปแช่เมล็ดพืชจากนั้นนำไปปลูกจนพืชเจริญเติบโต พบว่าพืชที่ผ่านการแช่ในสารสกัดจากผักโขมมีรากยาวและปริมาณรากมาก ลำต้นสูง และอวบกว่าต้นที่ไม่ได้แช่สารสกัด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุชาดา แซ่หลี

  • สุพัตรา พรหมช่วย

  • อรทัย บัวนวล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุวารี พงศ์ธีระวรรณ

  • เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 และชนะเลิศการประกวดระดับประเทศ ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p61

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ผักโขม

  • พืช การเพิ่มผลผลิต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์