โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องรักษาแผลปลาด้วยใบหูกวาง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการคัดเลือกพืชที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาแผลปลาจากใบหูกวาง, ใบหญ้าคา และพืชน้ำ(จอกแหน,ฟางข้าว,บัว,ผักบุ้ง,ผักกระเฉด,สาหร่ายหางกระรอก)โดยวิธีการใช้พลังงานความร้อน คือการนำพืชที่ต้องการศึกษามาต้มน้ำและแช่น้ำ ผลปรากฏว่าใบหูกวางที่แช่น้ำจะรักษาแผลปลาให้หายได้เร็ว และเมื่อนำเอาใบหูกวางทั้งสองระยะ(อ่อน,แก่)มาต้มและแช่ด้วยน้ำกำหนดเวลา 30 นาทีเท่ากัน จากผลการทดลองพบว่า ใบอ่อนจะรักษาแผลปลาให้หายได้เร็วกว่าใบแก่และใบที่ต้มน้ำนั้นแผลปลาจะหายช้า ส่วนน้ำที่แช่ใบแผลปลาจะหายได้เร็ว โดยใช้ใบหูกวางในปริมาณที่ต่าง ๆ กัน ( 2 กรัม, 3 กรัม, 4 กรัม, 5 กรัม, 6 กรัม, 7 กรัม) ต่อน้ำปริมาตร 900 ลูกบาศ์กเซนติเมตร สังเกตผลเป็นเวลา 5 วัน พบว่า ปริมาณ 7 กรัม ได้ผลดีมากโดยแผลของปลาจะหายภายใน 3 วัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อริศรา ทิพย์ญาณ
อัญชลี ธนอารักษ์
เขมิกา เหมโลหะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(11) p76
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์