โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการดูดซับสารหนูด้วยถ่านกัมมันต์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการนำเปลือกผลไม้ชนิดต่างๆ ได้แก่ กะลามะพร้าว เปลือกเงาะ เปลือกทุเรียน เปลือกมังคุด เปลือกลูกเนียง มาทำการผลิตเป็นถ่านกัมมันต์โดยวิธีทางเคมี และวิธีทางฟิสิกส์ ร่วมกับศึกษาการลดปริมาณสารหนูในน้ำ โดยวิธีทางเคมี นำเปลือกผลไม้มาต้มด้วยสารละลายซิงค์คลอไรด์( ZnCl2) ต่อด้วยการต้มกับสารละลายไฮโดรคลอริก ( HCl) ต่อด้วยการต้มน้ำร้อนแล้วต้มด้วยโซเดียมคาร์บอเนต ( NaCO3) แล้วนำมาต้มด้วยน้ำร้อน จากนั้นนำไปล้างน้ำจนมีสมบัติเป็นกลางจึงทำการตากแดดให้แห้ง ส่วนวิธีทางฟิสิกส์ให้ทำการกระตุ้นด้วยไอน้ำ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงตากแดดให้แห้ง สรุปผลการทดลองพบว่า จากการเผาถ่านจากเปลือกผลไม้ พบว่าเปลือกลูกเนียงให้ปริมาณถ่านมากที่สุด ส่วนการผลิตถ่านกัมมันต์โดยวิธีทางเคมีพบว่า กะลามะพร้าวให้ปริมาณถ่านมากที่สุด และการผลิตถ่านกัมมันต์โดยวิธีทางฟิสิกส์พบว่าเปลือกเงาะให้ปริมาณถ่านมากที่สุด และการทดสอบการดูดซับสารหนูในน้ำ ที่มีความเข้มข้น 0.025 mg/L พบว่าถ่านกัมมันต์จากเปลือกเงาะ เปลือกมังคุด และเปลือกลูกเนียงมีความสามารถในการดูดซับสารหนูดีที่สุดเท่ากัน โดยปริมาณหลังการดูดซับมีค่าเท่ากับ 0.002

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤตยา วิชานศวกุล

  • ศุภกาญจน์ สังข์ช่วย

  • สุวดี จันทร์รอด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิตยา ทวีกิจการ

  • ลัดดาวัลย์ เจ้าแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ถ่านกัมมันต์

  • สารหนู

  • เปลือก

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์