โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการรีไซเคิลน้ำทิ้งจากการผลิตยางแผ่น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กอสิน ศุภฤทธิธำรง

  • ณัฐพงศ์ ทองพรหม

  • พัททิยาภรณ์ องอาจ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จีรนัย พรหมณะ

  • นิตยา ทวีกิจการ

  • ลัดดาวัลย์ เจ้าแก้ว

  • สุพชัย ทองสวาท

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ยางพารา

  • รีไซเคิล

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดกลิ่นเหม็นของน้ำทิ้งจากการผลิตยางแผ่นและนำน้ำทิ้งที่ผ่านการกรอง ดูดสีและกลิ่น นำกลับไปใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง วัสดุที่ใช้คือ ขี้เลื่อย แกลบ ใยมะพร้าว ฟางข้าว และชานอ้อย วิธีดำเนินการทดลองโดยนำน้ำทิ้งจากการผลิตแผ่นยาง 1 วันมาใช้ในการทดลอง โดยการทดสอบความสามารถในการกรองสารแขวนลอยของน้ำทิ้งจากวัสดุต่างๆ ที่ใช้ ผลการทดลองพบว่า ฟางข้าวสามารถกรองสารแขวนลอยของน้ำทิ้งได้ดีที่สุด จากนั้นนำมาทดสอบการดูดสีและกลิ่น ด้วยถ่านจากเปลือกผลไม้ชนิดต่างๆ ได้แก่ ถ่านจากเปลือกเงาะ เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียน เปลือกลูกเนียง เปลือกโกโก้ และจากกะลามะพร้าว ผสมกับน้ำตั้งทิ้งไว้ 1 คือ แล้วกรองด้วยกระดาษกรอง พบว่าถ่านจากกะลามะพร้าวสามารถกำจัดกลิ่นและสีของน้ำทิ้งได้ดีที่สุด แล้วนำน้ำทิ้งนี้ไปทำให้มีสมบัติเป็นกลางโดยใช้ปูนขาวเนื่องจากหาได้ง่ายและราคาถูก พบว่าน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการนี้แล้วสามารถนำไปใช้ในการผลิตยางแผ่นซ้ำได้ จากนั้นจึงนำยางแผ่นไปตรวจสอบคุณภาพ พบว่า ยางแผ่นที่ผลิตได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับยางแผ่นที่ชาวบ้านผลิตโดยใช้น้ำธรรมดา