โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการรีไซเคิลน้ำทิ้งจากการผลิตยางแผ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กิตติชัย สมรูป
ณัฐพร บูรณ์ชนะ
วรรณิภา สระศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จีรนัย พรหมณะ
นิตยา ทวีกิจการ
ลัดดาวัลย์ เจ้าแก้ว
สุพชัย ทองสวาท
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 11(32) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
น้ำทิ้ง
ยางแผ่น การผลิต
รีไซเคิล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำน้ำทิ้งจากการผลิตยางแผ่นไปบำบัดด้วยวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสม เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ในการผลิตยางแผ่นอีกครั้ง การทดลองศึกษาได้เลือกใช้น้ำทิ้งที่มีอายุ 1 วัน มาผ่านการกรองสารแขวนลอยด้วยวัสดุธรรมชาติชนิดต่าง ๆ 5 ชนิด พบว่า ฟางข้าวสามารถกรองสารแขวนลอยได้ดีที่สุด แล้วทดสอบการดูดสีและกลิ่นด้วยถ่านที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ 6 ชนิด พบว่า ถ่านจากกะลามะพร้าวสามารถกำจัดสีและกลิ่นของน้ำทิ้งได้ดีที่สุด จากนั้นทำให้น้ำเป็นกลางโดยใช้ปูนขาวและปูนจากเปลือกหอยแครงเผา พบว่าทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน แต่ปูนขาวหาง่าย ราคาถูก จึงเลือกใช้ปูนขาวในการทดลอง เมื่อนำน้ำที่ผ่านการรีไซเคิลมาผลิตยางแผ่นซ้ำ พบว่ายางแผ่นที่ผลิตได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับยางแผ่นที่ชาวบ้านผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด