โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำกระดาษจากตะไคร้
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการคัดเลือกเยื่อในการทำกระดาษจากใบตะไคร้ ใบหญ้าคา และฟางข้าว โดยพบว่าเยื่อของใบตะไคร้จะมีความนิ่มของเส้นใยดีกว่าเยื่อที่ได้จากฟางข้าวและใบหญ้าคา เมื่อนำเอาเยื่อใบตะไคร้ทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนโคน ส่วนกลาง และส่วนปลายมาทดสอบด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และกำหนดเวลา 60 นาทีเท่ากัน จากผลการทดลองพบว่าเยื่อจากใบตะไคร้ส่วนกลาง และส่วนปลายจะได้เยื่อที่มีความนิ่มเหมาะต่อการทำกระดาษมากที่สุด หลังจากการทดสอบความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ กัน (ร้อยละ 2, 4, 6, 8, 10)ในเวลา 60 นาที พบว่าที่ความเข้มข้นร้อยละ 6 ได้ผลดีมาก โดยเยื่อไม่แข็งกระด้างและไม่เปื่อยยุ่ยจนเกินไป และเมื่อฟอกในสารละลายชนิดต่าง ๆ (โซเดียมออกซิคลอไรด์, แคลเซียมไฮโปคลอไรด์, ผงปูนคลอรีน) จากการทดลองพบว่า การฟอกในสารละลายคลอรีนเยื่อที่ได้จะขาวเร็วกว่าและขาวมากที่สุดในเวลาเท่ากัน ซึ่งเป็นการประหยัดสารเคมีและเชื้อเพลิงได้มากพร้อมกันนั้นก็ทดสอบได้ว่าสารที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก 3 ครั้ง การทดสอบประสิทธิภาพของกระดาษโดยการดูดซับน้ำ พบว่าซึมซับน้ำได้ 5 แผ่นจาก 40 แผ่น ทดสอบแรงดึงพบว่า ทนทานต่อแรงดึงโดยคิดจากค่าความเค้นดึงได้ 3.9x10 6 N/m2 ทดสอบการเรียงตัวของเส้นใยจากกล้องจุลทรรศน์ลักษณะเนื้อกระดาษมีช่องว่างน้อยระหว่างเส้นใยมีเส้นใยหลายขนาดส่วนมากจะมีขนาดเล็กเรียงสานกัน พบแป้ง กระดาษมีคุณสมบัติเป็นกลาง ทดสอบความทึบแสงของกระดาษ โดยใช้หลอดไฟ 12 โวลต์ 25 วัตต์ ว่าแสงสามารถส่องผ่านได้ 12 แผ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กีรพงศ์ มานะพัฒนพงศ์
สิวพร ปาริชาติกานนท์
เยาวนิตย์ เด่นวงศ์กุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(11) p74
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษ ทำจากใบตะไคร้
ตะไคร้ ใช้ใบทำกระดาษ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์