โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาคุณสมบัติของเส้นใยจี๋กุ๊ก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จารุภา ดำรงพรกุล

  • ธนารักษ์ สง่าเพียรสิริ

  • สิรภพ ศรีทานันท์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสังวาลย์วิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น เหรียญเงิน ภาคเหนือตอนบน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กาบใบจี๋กุ๊กมีลักษณะยาวและเหนียว ผู้ทำจึงคิดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาคุณสมบัติของเส้นใยจี๋กุ๊ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณสมบัติของเส้นใยจี๋กุ๊ก 2) ศึกษาคุณสมบัติของเส้นด้ายจี๋กุ๊ก และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจี่กุ๊ก ทดลองโดยนำกาบใบของจี๋กุ๊กมาแยกเส้นใยแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกค์ไซด์ จะได้เส้นใยจี๋กุ๊กออกมา นำเส้นใยมาศึกษาคุณสมบัติโดยการสังเกตด้วยตาเปล่า สังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ วัดความยาว และทดสอบการเผาไหม้ พบว่า เส้นใยมีสีน้ำตาล ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร สัมผัสแล้วรู้สึกเย็น ไม่ยืดหยุ่น ขรุขระ กระด้าง หยาบ แห้ง มีผิวมันวาว ลักษณะผิวนอกไม่เรียบ มีร่อง มีเกล็ด และภายในเส้นใย 1 เส้น ประกอบด้วยเส้นใยเล็ก ๆ อีกหลายเส้น และเมื่อเผาไหม้ เส้นใยจะไม่หด จะติดไฟทันที กลิ่นไหม้เหมือนกระดาษ และขี้เถ้า เบา นุ่ม มีสีเทา จากนั้นนำเส้นใยจี๋กุ๊กมาปั่นเป็นเส้นด้ายฝ้ายและขนแกะ ทดสอบความลื่น ความเหนียว ความยืด ความยืดหยุ่นขณะเปียกและขณะแห้ง ทดสอบการดูดซับน้ำ การย้อมสีและความหนาแน่น พบว่า ขณะเส้นด้ายจี๋กุ๊กแห้งจะมีความเหนียว ขณะเปียกจะมีความลื่นมากกว่าเส้นด้ายฝ้ายและขนแกะ มีความยืดหยุ่นน้อย ดูดซับน้ำดีกว่าฝ้าย ย้อมสีได้ และมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ สุดท้ายนำเส้นใยและเส้นด้ายจี๋กุ๊กมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ชาวบ้านทดลองใช้ ได้แก่ ตุ๊กตา เชือก จานรองแก้ว และกระเป๋า เป็นต้น ได้ผลตอบรับอยู่ในระดับมาก