โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาพัฒนาสมบัติเส้นด้ายขนแกะโดยการเคลือบด้วยผงทานาคา
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้จึงจัดทำเพื่อศึกษาสมบัติของเส้นด้ายขนแกะ โดยนำผงทานาคามาเคลือบเส้นด้าย เพื่อลดการดูดกลืนความร้อนของเส้นด้ายขนแกะ โดยทำการทดลอง 3 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการเคลือบเส้นด้ายด้วยผงทานาคา ตอนที่ 2 ศึกษาสมบัติของเส้นด้ายทอผ้าขนแกะที่ผ่านการเคลือบด้วยผงทานาคา และตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพของผ้าทอขนแกะที่ทอจากเส้นด้ายขนแกะเคลือบผงทานาคา ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณผงทานาคาที่เหมาะสมในการเคลือบเส้นด้ายขนแกะจำนวน 10 กรัม ต่อน้ำ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตรนั้น อยู่ระหว่าง 8-10 กรัม ปริมาณสารช่วยติด (ยางกล้วยน้ำหว้าดิบ) ที่เหมาะสมในการเคลือบเส้นด้าย อยู่ระหว่าง 8-10 กรัม ระยะเวลาที่เหมาะสมในการแช่เคลือบ ได้แก่ แช่เคลือบตั้งแต่ 50 ถึง 60 นาที จำนวนรอบที่เหมาะสมในการเคลือบ ได้แก่ การเคลือบ 1 รอบ เพราะการเคลือบเพียง 1 รอบ มีค่าของอุณหภูมิในการดูดกลืนความร้อนใกล้เคียงมากกับการเคลือบ 2 และ 3 รอบ สำหรับสมบัติ ความลื่น ความเหนียว การดูดซับน้ำของเส้นด้ายที่เคลือบด้วยผงทานาคากับเส้นด้ายปกติที่ไม่เคลือบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ในการศึกษาเปรียบเทียบการดูดกลืนความร้อนของผ้าทอขนแกะที่ทอด้วยเส้นด้ายขนแกะเคลือบผงทานาคาและผ้าทอขนแกะที่ทอจากเส้นด้ายปกติไม่ผ่านการเคลือบ ค่าของอุณหภูมิในการดูดกลืนความร้อนของผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายขนแกะเคลือบผงทานาคา สามารถลดการดูดกลืนความร้อนได้ถึง 4.3 องศาเซลเซียส ในการศึกษาผลของจำนวนครั้งในการซักผ้าทอขนแกะที่ทอด้วยเส้นด้ายเคลือบผงทานาคาต่อการดูดกลืนความร้อนนั้น ผ้าทอขนแกะที่ทอด้วยเส้นด้ายที่ผ่านการเคลือบผงทานาคาสามารถทนต่อการซักได้ถึง 20 ครั้ง โดยที่สมบัติในการลดการดูดกลืนความร้อนยังไม่เสียไป
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภัสสร มณีย์
สุมาลี ถาวรนิติไกรกุล
เกษกนก ศรีพรเฉลิมชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น เหรียญทองแดง ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ขนแกะ การเคลือบ
ทานาคา
เส้นด้าย การทดลอง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์