โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำ Thin Layer Chromatography โดยใช้ผงละเอียดจากเปลือกและกระดองของสัตว์ทะเลเป็นวัฏภาคนิ่ง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะจัดทำคิดว่าน่าจะมีวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถใช้ในการโครมาโทกราฟีแบบ Thin Layer แทนวัสดุที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีพิษต่อผู้ทำการทดลอง จึงจัดทำโครงงานประเภททดลองเพื่อศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นวัฏจักรนิ่ง (ตัวดูดซับ) ในการโครมาโทกราฟีแบบ Thin Layer ของผงละเอียดจากสัตว์ทะเล ในที่นี้ก็คือกระดองหมึก กระดองปูม้า เปลือกหอยลาย และเปลือกกุ้งกุลาดำ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารชีวโมเลกุลที่ย่อยสลายได้ง่าย ไม่พิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยออกแบบการทดลองบดเปลือกและกระดองของสัตว์ทะเลที่กล่าวมาให้เป็นผงละเอียดและเคลือบลงบนแผ่นพลาสติกเพื่อทำเป็นวัฏภาคนิ่งในการทำโครมาโทกราฟี เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัฏภาคนิ่งชนิดต่างๆ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการแยกสารซึ่งทางคณะจัดทำได้ทดลองแล้วพบว่าวัฏภาคนิ่งจากผงละเอียดของกระดองหมึกสามารถแยกสารได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อาทิเช่น พื้นผิวเรียบสีขาว สังเกตสีที่แยกได้ง่ายยึดติดกันได้ดี แต่มีข้อเสียคือใช้เวลานานในการทดลองและมีข้อจำกัดคือใช้แยกสารที่มีความเป็นกรดสูงไม่ได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฐพร ธำรงลักษณ์กุล

  • ณิชกานต์ หนูทอง

  • ศิรดา กนกบรรณากร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนระยองวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทชีวภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สัตว์กระดอง

  • สัตว์ทะเล

  • เปลือกสัตว์เปลือก

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์