โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของสารเมือก (Mucilage) ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารเมือกจากผักปลัง กระเจี๊ยบเขียว และแมลงลัก ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงพันธ์น้ำดอกไม้ พบว่าสารเคลือบผิวจากเมือกผักปลังช่วยรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงได้ดีกว่าสารเมือกชนิดอื่น ๆ โดยช่วยลดการสูญเสียน้ำหนัก ลดารกเกิดโรค และรักษาคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านสีเปลือก สีเนื้อ และกลิ่นของมะม่วงให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารเมือกที่เหมาะสมต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงพันธ์น้ำดอกไม้ พบว่าความเข้มข้นของสารเคลือบผิวมีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยสารเคลือบผิวจากเมือกผักปลังที่ความเข้มข้น 75 เปอร์เซ็นต์ ช่วยให้ผลมะม่วงมีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวดีกว่าระดับความเข้มข้นอื่น ๆ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บุณยนุช หัสกิจ
หฤทัย ปิกจุมปู
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
พืช สารเมือก
มะม่วง เก็บเกี่ยว
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์