โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านอัดแท่งจากกิ่งไม้ยางและใบยาง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อศึกษาชนิดของวัตถุประสาน อัตราส่วนผสมของผงถ่านกิ่งไม้ยางกับวัตถุประสาน ชนิดและสภาพของใบไม้ อัตราส่วนผสมของผงถ่านกิ่งไม้ยางกับใบยางที่เหมาะสมในการทำถ่านอันแท่ง โดยเปรียบเทียบระหว่างใบยางไม่เผาและใบยางเผา และเปรียบเทียบความหนาแน่น ค่าความร้อน ปริมาณเขม่า ความชื้นของถ่านอัดแท่งของกิ่งไม้ยาง ถ่านอัดแท่งจากกิ่งไม้ยางกับใบยาง และถ่านไม้ยาง ผลการทดลองพบว่า แป้งมันเหมาะในการทำเป็นวัตถุประสานเพราะติดไฟได้เร็ว มีควันไฟน้อย และมีกลิ่นฉุนน้อย โดยใช้อัตราส่วน ระหว่างผงถ่านกิ่งไม้ยางกับแป้งมันคือ 100 : 5 ใบไม้ที่เหมาะสมที่ใช้เป็นส่วนผสมในการทำถ่านอัดแท่ง คือ ใบยางแห้ง การทำถ่านอัดแท่งจากผงถ่านไม้ยางกับใบยางที่ดีที่สุด คือ ต้องนำใบยางแห้งมาเผาก่อนแล้วจึงนำมาบดให้ละเอียดผสมกับผงถ่านกิ่งไม้ยางในอัตรส่วน 90 : 10 และเมื่อเปรียบเทียบความหนาแน่น ค่าความร้อน ปริมาณเขม่า และความชื้นของถ่านอัดแท่งจากกิ่งไม้ยาง ถ่านอัดแท่งจากกิ่งไม้ยางกับใบยางและถ่านไม้ยาง พบว่า ถ่านอัดแท่งจากกิ่งไม้ยางกับใบยาง มีความหนาแน่นมากกว่า มีความร้อนมากกว่า มีปริมาณเขม่าน้อย มีความชื้นมากกว่า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทศพร พิมพ์เหมือน
นัฐกานต์ วิลวัฒน์
ปิยวัฒน์ ผลทวี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ถ่านอัดแท่งกิ่งไม้ยาง
ถ่านอัดแท่งใบยาง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์