โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระถางเพะชำกรีน ดีเอ็นเอ (Green DNA)

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เพื่อศึกษาการทำกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรม และวัสดุเหลือใช้โดยใช้เส้นใยจากวัสดุธรรมชาติ และวัดสุดเหลือใช้ชนิดต่าง ๆ โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 ตอน คือ 1. นำแป้งมันมาละลายน้ำแล้วตั้งไฟอ่อนเคี่ยวจนใสแล้วมาพักให้เย็น จากนั้นนำวัสดุที่ใช้ในการทำกระถาง(ใยมะพร้าว แกลบ ใบไม้ กระดาษ) มาผสมกับแป้งเปียกอัตราส่วน 1 : 3 แล้วบรรจุใส่แม่พิมพ์อัดจนแน่น ใช้ฐานเหล็กดันออกและรอให้กระถางแห้ง 2. นำวัสดุธรรมชาติ คือใยมะพร้าวกับขุยมะพร้าวผสมกับแป้งเปียก แล้วบรรจุใส่แม่พิมพ์อัดจนแน่นรองกระถางแห้ง 3. นำกระถางที่ทำจากวัสดุและอัตราส่วนที่ดีที่สุดคือ ใยมะพร้าวกับขุยมะพร้าวและแป้งเปียก มาปลูกเม้ดมะเขือและรดน้ำ สังเกตจำนวนวันที่กระถางคงรูปร่างได้ 4. นำวัสดุจากธรรมชาติคือใยมะพร้าวและขุยมะพร้าวมาผสมมูลวัวปริมาณ 10 กรัม กับแป้งเปียก แต่อีกกระถางไม่ผสมมูลวัว ปลูกพืชทั้งสองกระถางแล้วสังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืชในแต่ละสัปดาห์ จากการทดลองพบว่า กระถามเพาะชำจากวัสดุจากธรรมชาติที่ทำจากใยมะพร้าวในอัตราส่วนระหว่างใยมะพร้าวและแป้งเปียกเท่ากับ 1 : 3 มีลักษณะภายนอกความคงทนและความสามารถในการยึดเกาะดีที่สุด สามารถดูดซับน้ำ 100 cm3 ได้เฉลี่ย 4.73 นาที และเมื่อผสมมูลวัวปริมาณ 10 กรัม ลงในกระถางเพาะชำที่ทำจากใยมะพร้าวและขุยมะพร้าว และแป้งเปียกในอัตราส่วนใยมะพร้าว : ขุยมะพร้าว : แป้งเปียก เท่ากับ 1 : 5 : 6 พืชเจริญเติบโตได้ดีกว่ากระถางเพาะชำที่ไม่ได้ผสมมูลวัว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ด.ช.วีรภัทร เดินเมือง

  • ด.ญ.สุพิชญา ประทุมพร

  • ด.ญ.อนินทิดา แวอาแซ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์กายภาพภาคใต้

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์