โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องไม้อัดจากต้นมันสำปะหลัง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พริมรตา โสภณดิลก
สุรีพร ศรีคำ
อภิชาติ ยาธงชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
มันสำปะหลัง
ไม้อัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการนำเอาแกนของต้นมันสำปะหลังมาทำเป็นไม้อัดที่มีน้ำหนักเบาโดยการใช้เส้นใยธรรมชาติเสริมเส้นใยความแข็งแรงให้กับไม้อัด โดยศึกษาเป็น 5 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาสารที่ช่วยในการยึดเกาะของมันสำปะหลัง พบว่ากาวลาเท็กซ์ผสมกับกาวแป้งเปียกในอัตราส่วน 1 : 1 เป็นตัวช่วยในการยืดเกาะของต้นมันสำปะหลังเนื่องจากได้ไม้อัดที่มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง และมีความยืดหยุ่น ตอนที่ 2 ศึกษาวัสดุที่จะนำมาเสริมเส้นใยของไม้อัด พบว่าวัสดุจากธรรมชาติที่เหมาะสมคือชานอ้อยละเอียดและขุยมะพร้าว เนื่องจากสามารถเสริมความแข็งแรงให้กับไม้อัดและได้ไม้อัดที่มีเนื้อเรียบ น้ำหนักเบา ตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนที่ดีที่สุดระหว่าง มันสำปะหลัง : เส้นใยธรรมชาติ : สารที่ช่วยในการประสาน พบว่า อัตราส่วนที่ทำไม้อัดได้ดีที่สุดคือ มันสำปะหลัง : ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว : กาวแป้งเปียก : กาวลาเท็กซ์ = 6 g : 2 g : 2 g : 30 ml : 30 ml ตอนที่ 4 ศึกษาคุณสมบัติของไม้อัดจากต้นมันสำปะหลังที่มีเส้นใยธรรมชาติกับไม้อัดชนิดอื่น พบว่า ไม้อัดที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับไม้อัดที่จำหน่ายตามท้องตลาดมีลักษณะทางกายภาพที่ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่ไม้อัดจากต้นมันสำปะหลังมีเนื้อที่แน่นกว่า ไม่ยุ่ยง่าย มีน้ำหนักเบากว่า มีความยืดหยุ่นสูงกว่า และสามารถทำเองได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งยังเป็นการนำเศษวัสดุที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตอนที่ 5 ศึกษาการทำผลิตภัณฑ์จากไม้อัดที่ได้จากต้นมันสำปะหลัง พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้อัดจากต้นมันสำปะหลัง สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยการทำเป็นพื้นบอรด์ ที่มีความแข็งแรง คงทนและสามารถทำขึ้นเองได้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย