โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของเชื้อราในมูลสัตว์กินพืชบางชนิด ในการยับยั้งรา Collectotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสในมะเขือเทศ (Anthracnose of tomato)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กติกร กมลรัตนะสมบัติ
นิรมล วิสุทธิธาดาพงศ์
นิรมล สุภาพรม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชายิกา อุดมพันธ์
นิรันดร์ เหลืองสวรรค์
สุริยา โก้พิมาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
Collectotrichum Capsici
ราการยับยั้ง
โรคแอนแทรกโนสมะเขือเทศ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ผลของเชื้อราในมูลสัตว์กินพืชบางชนิด ในการยับยั้งรา Collectotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสในมะเขือเทศ (Anthracnose of tomato) เพื่อศึกษาทดลองแยกเชื้อราในมูลสัตว์กินพืช เพื่อนำมาใช้ในการยับยั้งราโรคแอนแทรกโนสในมะเขือเทศ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะการเจริญเติบโตของเชื้อราในมูลสัตว์กินพืชบนอาหาร PDA พบว่า สามารถแยกเชื้อราโดยใช้ลักษณะโคโลนีที่เจริญบนผิวหน้าของอาหารเลี้ยงเชื้อได้ 5 ลักษณะ โดยมูลสัตว์ชนิดเดียวกันจะมีลักษณะโคโลนนีเหมือนกัน การทดลองที่ 2 ศึกษาและเปรียบเทียบผลของเชื้อราในมูลสัตว์กินพืช ในการยับยั้งรา Collectotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสในมะเขือเทศ (Anthracnose of tomato) บนอาหารPDA ในระยะเวลาการทดลอง 7 วัน พบว่ากลุ่มควบคุมมีเปอร์เซ็นต์ Clear Zone ของรา Collectotrichum capsici เป็น 100% ส่วนกลุ่มที่เลี้ยงใน plate เดียวกับมูลสัตว์กินพืช เชื้อราในมูลค้างคาวแม่ไก่มีผลในการยับยั้งรา Collectotrichum capsici ได้ดีที่สุด การทดลองที่ 3 ศึกษาและเปรียบเทียบผลของเชื้อราในมูลสัตว์กินพืช ในการยับยั้งรา Collectotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสในมะเขือเทศ (Anthracnose of tomato) ณ สภาพจริง พบว่า เปอร์เซ็นต์จำนวนต้นมะเขือเทศที่เกิดรา ในกลุ่มควบคุมเป็น 100 % ส่วนในกลุ่มที่ฉีดพ่นด้วยเชื้อราจากมูลค้างคาวแม่ไก่ มีเปอร์เซ็นต์ 0.00% ไม่มีจำนวนมะเขือเทศที่เกิดราเลย