โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของสารสกัดจากพืชวงศ์ Euphorbiaceae ในการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens Stal) และผลกระทบต่อมวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorhinus lividipennis Reuter)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปวีณา ตะเภาทอง
ปิยะรัตน์ วงศ์สน
อำภา มณีล้ำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิรันดร์ เหลืองสวรรค์
ประเทืองสุข มณีล้ำ
สุริยา โก้พิมาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
Cyrtorhinus lividipennis Reuter
Euphorbiaceae
Nilaparvata lugens Stal
มวนเขียวดูดไข่
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ผลของสารสกัดจากพืชวงศ์ Euphorbiaceae ในการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens Stal) และผลกระทบต่อมวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorhinus lividipennis Reuter) เพื่อหาวิธีการป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากพืชวงศ์ Euphorbiaceae ได้แก่ น้ำนมราชสีห์ หญ้ายาง สบู่แดง และลูกใต้ใบ ที่ระดับความเข้มข้นต่างกันต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และมวนเขียวดูดไข่ ณ ห้องปฏิบัติการ พบว่า สารสกัดจากสบู่แดงมีเปอร์เซ็นต์การตายของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากที่สุด และมีเปอร์เซ็นต์การตายของมวนตัวห้ำไข่เป็นอันดับที่ 2 ดังนั้นจึงเลือกสบู่แดงในไปศึกษาทดลองถึงประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและผลกระทบต่อมวนห้ำไข่ และระดับความเข้มข้นสูงจะมีผลต่อการตายของแมลงทดสอบทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น การทดลองที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบสารสกัดจากสบู่แดงที่มีต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมวนเขียวดูดไข่ ณ ห้องปฏิบัติการ พบว่า ตารางชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ได้รับสารสกัดสบู่แดงมีการตายมากขึ้นกว่าที่ไม่ได้รับสารสกัดสบู่แดง การทดลองที่ 3 ศึกษาเปรียบเทียบสารสกัดจากสบู่แดงที่มีต่อประสิทธิภาพการห้ำของมวนเขียวดูดไข่ ณ ห้องปฏิบัติการ พบว่า สารสกัดจากสบู่แดงมีผลต่อประสิทธิภาพการห้ำของมวนเขียวดูดไข่ จำนวนไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มวนกินได้ต่อตัวลดลง