โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำมันยางไบโอดีเซลในอนาคต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธมนวรรณ วงศ์หนองเตย
วรรณอุษา ทองพัฒน์
อรฤทัย ศรีรอดภัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
น้ำมันยาง
ไบโอดีเซล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการนำน้ำมันยางมาผลิตไบโอดีเซลและประสิทธิภาพการใช้งานของน้ำมัน จากการทดลองที่ 1 พบว่าน้ำมันยางมีสีน้ำตาลส้ม เมื่อติดไฟให้เปลวไฟมีควัน และมีปฏิกิริยาการเผาไหม้รวดเร็ว มีความหนืดเหมือนน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม ผลจากการทดลองที่ 2 พบว่าน้ำมันยางให้ค่าพลังงานความร้อนเท่ากับน้ำมันปาล์มแต่ต่ำกว่าน้ำมันมะพร้าว การทดลองที่ 3 เป็นการหาค่าพลังงานความร้อนของสารผสมน้ำมันยาง พบว่าสารผสมของน้ำมันยางและน้ำมันเบนซินให้ค่าพลังงานสูงสุด ผลการทดลองที่ 4 พบว่า น้ำมันเบนซินให้ค่าพลังงานความร้อนสูงกว่าน้ำมันยาง การทดลองที่ 5 เปรียบเทียบค่าพลังงานความร้อนของสารผสมน้ำมันยาง พบว่าน้ำมันยางผสมเอทิลแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร ให้ค่าความร้อนสูงสุด รองลงมาคือ น้ำมันยางผสมน้ำมันเบนซิน และน้ำมันยางผสมน้ำมันก๊าด ในอัตราส่วนเดียวกัน ตามลำดับ จากผลที่ได้นำมาหาอัตราส่วนของน้ำมันยางและเอทิลแอลกอฮอล์ที่เหมาะสม พบว่าอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตรให้ค่าความร้อนสูงสุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซินและน้ำมันยางในการทดลองที่ 7 พบว่าน้ำมันผสมเอทิลแอลกอฮอล์อัตราส่วน 1:1 ให้ค่าพลังงานสูงกว่าน้ำมันเบนซินและน้ำมันยาง ตามลำดับ ในการทดลองที่ 8 พบว่าเมื่อนำน้ำมันทั้ง 3 ชนิดมาทดสอบกับกลจักรไอน้ำขนาดเล็ก เปรียบเทียบมวลของเชื้อเพลิงที่ใช้ไปกับระยะทางที่ล้อหมุนได้ พบว่าน้ำมันเบนซินและน้ำมันยางผสมเอทิลแอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน โดยน้ำมันยางมีประสิทธิภาพต่ำสุด