โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของแผ่น Solar Cell จากวัสดุธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤศภณ กุลขจรพันธ์
ณธกร พาณิชวราห์
พชร กรานมูล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคตะวันออก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาประสิทธิภาพของแผ่น Solar Cell จากวัสดุธรรมชาติ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของตัวประสาน ชนิดของวัสดุธรรมชาติซิลิกอน ชนิดของวัสดุธรรมชาติฟอสฟอรัสและโบรอนในแผ่น N-type และ P-type ศึกษาอัตราส่วนของน้ำ ตัวประสาน และวัสดุธรรมชาติ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของแผ่น Solar Cell อีกทั้งศึกษาความหนาแน่นของแผ่น Solar Cell ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแผ่น N-type และ P-type ที่มีแป้งข้าวโพดเป็นตัวประสาน และใช้วัสดุธรรมชาติซิลิกอนจากแกลบมีประสิทธิภาพมากที่สุด วัสดุธรรมชาติฟอสฟอรัสจากเกล็ดปลาในแผ่น N-type และวัสดุธรรมชาติโบรอนจากเปลือกมะม่วงในแผ่น P-type มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอัตราส่วนของน้ำ : แป้งข้าวโพด : แกลบ : เกล็ดปลา ที่เหมาะสมในการทำแผ่น Solar cell ชนิด N-type คือ 100 cm3 : 30 g : 30 g : 60 g ส่วนอัตราส่วนของน้ำ : แป้งข้าวโพด : แกลบ : เปลือกมะม่วง ที่เหมาะสมในการทำแผ่น Solar Cell ชนิด P-type คือ 50 cm3 : 45 g : 40 g : 80 g และจากการศึกษาความหนาของแผ่น Solar Cell พบว่าความหนาของแผ่น N-type : T-type ที่ดีที่สุดคือ 0.7 : 0.7 เซนติเมตร