โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องฟิล์มชีวภาพจากเซลลูโลสและโปรตีนจากพืช
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเข้มข้นของ NaOH ปริมาณไฮเตอร์ อัตราส่วนของเซลลูโลสกับโปรตีนและปริมาณกลีเซอรีนที่เหมาะสมในการนำมาเป็นฟิล์มพลาสติกชีวภาพ โดยการนำชานอ้อยและเปลือกทุเรียนไปตากแดด แล้วนำมาใส่ NaOH ในความเข้มข้นที่ต่างกัน คือ 10%, 15%, 20%, 25% และ 30% แล้วนำไปแช่ไฮเตอร์ กรองและล้างน้ำ จากนั้นนำไปอบให้แห้ง พบว่า ในชานอ้อย NaOH 10% ให้ปริมาณคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส (CMC) มากที่สุด ได้ 1.86 กรัม และในเปลือกทุเรียน 20% ให้ปริมาณคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส (CMC) มากที่สุด ได้ 1.68 กรัม ต่อมาทดลองโดยการใช้ความเข้มข้นของ NaOH ที่เหมาะสมที่สุด แต่แช่ในไฮเตอร์ในปริมาณที่ต่างกันคือ 20, 25 และ 30 มิลลิลิตร วัดค่า RGB พบว่า ทั้งในชานอ้อยและเปลือกทุเรียนที่ใช้ไฮเตอร์ 30 มิลลิลิตร ทำให้สีของ CMC ที่ได้ขาวมากกว่าปริมาณอื่น ๆ ต่อมานำเซลลูโลสชานอ้อยผสมกับกากถั่วเหลืองและกากกาแฟ และให้ปริมาณกลีเซอรีนที่ต่างกันคือ 3, 4 และ 5 มิลลิลิตร พบว่า ปริมาณกลีเซอรีน 5 มิลลิลิตร ทำให้ฟิล์มพลาสติกมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสุดท้ายได้นำชานอ้อยผสมกับโปรตีนในอัตราส่วน 1:1 และ 1:2 และใส่กลีเซอรีนที่เหมาะสม แล้วนำไปอบ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจึงลอกฟิล์มออกนำมาทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า อัตราส่วน 1:2 ทำให้ฟิล์มมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรัชญา ใจงาม
ชยธร สุจินตกาวงศ์
ภัทรานิษฐ์ แสงวิลัย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มณเฑียร ส่งเสริม
เศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เชิดชูเกียรติ ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
พืช โปรตีน
ฟิล์ม การผลิต
เซลลูโลส
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์