โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเทคโนโลยีการเก็บรักษาผักและผลไม้โดยใช้ก๊าซจากใบไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จีรภา ศีลพงษ์
นพมาศ ล้อมทอง
ยอดขวัญ เหมือนทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทรารักษ์ จิรกาล
อนันต์ หลวงภักดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4 (9) p75,76
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผักและผลไม้ เทคโนโลยีการเก็บรักษา
เก็บรักษาผลไม้ ใช้ก๊าซจากใบไม้
เก็บรักษาผัก ใช้ก๊าซจากใบไม้
โครงงานวิทยาศาสตร์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเทคโนโลยีการเก็บรักษาผักและผลไม้โดยใช้ก๊าซจากใบไม้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเก็บรักษาผักและผลไม้โดยใช้ก๊าซจากใบไม้ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 8 ขั้นตอน คือศึกษาการคายก๊าซของพืชที่ออกมาจากใบไม้ ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเก็บรักษาศึกษาชนิดของใบไม้ที่มีผลต่อการเก็บรักษา ศึกษาขนาดของถุงพลาสติกที่เกมาะสมในการเก็บรักษา ศึกษาการเก็บรักษาผลไม้ชนิดต่างๆ ศึกษาการเก็บรักษาผักชนิดต่างๆ ศึกษาประสิทธิภาพของวิตามินซีในผักและผลไม้ก่อนและหลังการเก็บรักษา และศึกษาทดสอบประสิทธิภาพโดยการชิมรส โดยวิธีนำผักและผลไม้ใส่ในถุงพลาสติกขนาด 12 x 18 นิ้ว นำไปผูกไว้กับกิ่งของต้นมะม่วงให้มีใบอยู่ในถุง 30 ใบ รัดปากถุงให้สนิท เป็นวิธีการเก็บรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งได้ผลการเก็บรักษาดังนี้มะนาวเก็บได้ 44.6 วัน แอปเปิ้ลเก็บได้ 23.8 วัน ส้มเก็บได้ 22 วัน เงาะเก็บได้ 17.4 วัน พริกเก็บได้ 10.4 วัน มะเขือเก็บได้ 6.4 วัน และถั่วฝักยาวเก็บได้ 4.8 วัน ผลการศึกษาประสิทธิภาพวิตามินซีในผักและผลไม้ก่อนและหลังการทดลองโดยการหยดน้ำผักและผลไม้ลงในน้ำแป้งผสมสารละลายไอโอดีนจนสีของน้ำแป้งเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แล้วเปรียบเทียบจำนวนหยดพบว่า ประสิทธิภาพของมะนาวกับส้มไม่แปลี่ยนแปลง แอปเปิ้ล เงาะ พริก มะเขือ และถั่วฝักยาวเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ยังสามารถใช้งานได้ดี ผลการทดสอบประสิทธิภาพโดยการชิมรสมะนาว ส้ม แอปเปิ้ล และเงาะ พบว่าผู้ที่บอกว่ารสชาดไม่เปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 98, 96.8, 91.2 และ 86.4 ตามลำดับ การเก็บรักษาผักและผลไม้ โดยใช้ก๊าซจากใบไม้นี้ ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์อย่างดียิ่ง