โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องมหันตภัยไซยาไนด์ในพืช

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

สำรวจและเก็บตัวอย่างพืชสด จากการสำรวจพืช 204 ชนิดตรวจพบไซยาไนด์ในพืชสด จำนวน29 ชนิด (ร้อยละ14.2)แบ่งออกเป็นผัก-อาหารคน 9 ชนิด(กระทกรก กะทกรกยักษ์ เสาวรส ผักเสี้ยนป่า ไมยราบ ไมยราบยักษ์ ไมยราบเถา มะกล่ำตาหนู และมะกล่ำตาช้าง) ไม้ยืนต้น 4 ชนิด(กระถินเทพา กระถินณรงค์ กระถินยักษ์ และขี้เหล็กป่า)พืชที่มีไซยาไนด์ทั้ง29ชนิดแบ่งตามระดับไซยาไนด์ ดังนี้ ระดับน้อย ได้แก่ กระถิน ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กป่า ข้าวโพด มะม่วงชุมเห็ดไทย กระถินยักษ์ สะตอเหรียง และเนียง ระดับปานกลางได้แก่ข้าวฟ่าง ชุมเห็ดเทศ กระถินเทพาระดับมาก ได้แก่ กะทกรก กะทกรกยักษ์ ผักเยนบ้าน ผักเสี้ยนป่า มันสำปะหลัง ไมยราบเถา ไมยราบยักษ์ ชะอม ส้มป่อย ผักหนาม กระถินณรงค์ เทียนต้น มะกล่ำตาหนู มะกล่ำตาช้าง ไซยาไนด์ในซะอมลดลงในระดับที่ตรวจไม่พบด้วยด้วยกระดาษพิเครต (น้อยกว่า 1 ไมโครกรัม)จากการทดลองดังนี้ความร้อนจากการต้ม การทอดในน้ำพืช และการรอบที่100 องศาเซลเซียลเป็นเวลา 3 นาทีขึ้นไปแช่กรดแอซิติก ความเข้มข้นร้อยละ5 ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาดสำหรับปรุงอาหาร เป็นเวลา 7 นาทีขึ้นไปจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบชนิดพืชที่มีสารพิษไซยาไนด์อยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะพืชสด เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคและวิธีการลดพิษของไซยาไนด์อย่างง่ายโดยใช้สารที่มีอยู่ในครัวเรือนเพื่อให้ปลอดภัยในการรับประทานรวมทั้งเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนในการหลีกเลี่ยงการรับประทานพืชมีสารพิษและป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงไปกินพืชมีพิษ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ทิพากร ปัญญาเชียว

  • สรศักดิ์ ภู่ห้อย

  • สุนารี เพ็งบำรุง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3 ฉะเชิงเทรา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • พืช การทดลอง

  • อาหาร การตรวจสอบ

  • ไซยาไนด์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์