โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องตะกอนน้ำทิ้งช่วยแก้ปัญหามลพิษาจากปุ๋ยเคมี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วาสนา เชี่ยวชูกุล
อนันต์ สนั่นเอื้อ
อรอนงค์ นุ่มเจริญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เบญจพร ศรีสุวรมาศ
แก้ว กังสดาลอำไพ, ดร.
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ทั่วไป ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p69
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ตะกอนน้ำทิ้ง
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
คณะผู้ทำการทดลองต้องการศึกษาผลของตะกอนน้ำทิ้ง ที่ผ่านการบำบัดแล้วในแง่ที่จะนำมาเป็นวัสดุสำหรับปลูกพืชโดยตรง หรือใช้เป็นปุ๋ยผสมกับดินธรรมดา โดยดูผลจากพืชที่เป็นตัวแทนของการนำใบ ดอกและผลไปใช้ประโยชน์จึงเลือกพืช 3 ชนิด คือ ผักกาด (ใบ), ดาวเรือง (ดอก) และแตงกวา (ผล) ทดลองปลูกกับตะกอนน้ำทิ้งจาก ร.พ.ศิริราช โดยผสมกับดิน 5 อัตราส่วนคือ 1.ตะกอน 0:ดิน 5 เป็นกลุ่มควบคุม 2.ตะกอน 1:ดิน 4 เป็นกลุ่มทดลอง 3.ตะกอน 2:ดิน 3 เป็นกลุ่มทดลอง 4.ตะกอน 3:ดิน 2 เป็นกลุ่มทดลอง 5.ตะกอน 4:ดิน 1 เป็นกลุ่มทดลอง 6.ตะกอน 5:ดิน 0 เป็นกลุ่มทดลอง สังเกตอัตราการงอก ความสูงของลำต้น ความกว้างและความยาวของใบจำนวนใบ ขนาดของดอกและผล จากพืชทั้ง 3 ชนิด ทุกๆ 3 วันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ตะกอนน้ำทิ้งไม่สามารถนำมาใช้ปลูกพืชโดยตรงได้ เพราะมีความเค็มและความเป็นกรดสูง แต่สามารถนำมาใช้แทนปุ๋ยได้ดีที่สุดในอัตราส่วน ตะกอน:ดิน = 3:2 ในผักกาดและดาวเรือง ส่วนแตงกวาจะให้ผลดีที่สุดในอัตราส่วน 4:1 พืชทั้ง 3 ชนิด มีการเจริญเติบโตดีมาก แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (ความเชื่อมั่นร้อยละ 99) นอกจากนี้ผู้ทำการทดลองยังได้นำตะกอนน้ำทิ้ง และดินที่ใช้เป็นกลุ่มควบคุมไปทำการตรวจสอบวิเคราะห์ธาตุทางเคมีที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล CARBON ตะกอนร้อยละ 25.14 ดินร้อยละ 0.54 HYDROGEN ตะกอนร้อยละ 3.25 ดินร้อยละ 0.58 NITROGEN ตะกอนร้อยละ 4.38 ดินร้อยละ 0.0 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของดินในแง่ของการใช้ปุ๋ย จากหน่วยวิเคราะห์ดินและปุ๋ย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 1.อินทรีย์วัตถุ ตะกอน 29.90 g/100g ดิน 0.99 g/mg 2.ฟอสฟอรัส 5,790.00 mg P/kg ดิน 67.33 mg P/kg 3.โพแทสเซี่ยม 5,187.00 mg K/kg ดิน 103.68 mg K/kg 4.ความเป็นกรด-ด่าง 5.67 ดิน 7.69 5.ความเค็มของดิน 119.00 ds/m ดิน 1.30 ds/m สำหรับกองบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลศิริราชผู้หีบตะกอนเหล่านี้ ได้ทำการตรวจหาจุลินทรีย์ในตะกอน พบว่ามีจุลินทรีย์มากหลายชนิดทั้งแกรมบวกและแกรมลบเหมือนดินทั่วๆ ไป รวมทั้งพบ E,coliด้วย แต่เมื่อนำน้ำสกัดจากแตงกวาและใบผักกาดที่ปลูกโดยตะกอนน้ำทิ้งผสมกับดินจากการทดลองนี้ไปตรวจไม่พบเชื้อ E,coli และจากการตรวจสอบสารพิษตกค้างในพืชจากสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล พบว่าทั้งแตงกวา และผักกาด ปลอดภัยจากสารก่อกลายพันธุ์ซึ่งทดสอบโดยใช้แมลงหวี่และแบคทีเรีย Salmonella typhimurium และเมื่อตรวจด้วยเครื่อง Atomic absorbtion ไม่พบโลหะหนักจำพวกตะกั่วและแคดเมี่ยม ดังนั้นการบริโภคพืชที่เกิดจากการปลูกด้วยดินผสมตะกอนน้ำทิ้งจากโรงพยาบาลศิริราช จึงไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค