โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุธรรมชาติกับการบำบัดน้ำเสีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นวจิต สืบขำเพชร
สุนทรี สิทธิ์วงศารัตน์
เพ็ญพร วิภาตวิทย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทนา ทัพสุพรรณ
ถนอม อาจหาญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(33) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
น้ำเสีย การบำบัด
วัสดุธรรมชาติ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
คณะผู้จัดทำโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาเนื้อเยื่อพืชที่มีในท้องถิ่น มาช่วยแก้ปัญหามลพิษทางน้ำโดยแบ่งการทดลองศึกษาออกเป็น 5 ตอนดังนี้ คือ ตอนที่ 1 เป็นการทดสอบความสามารถในการดูดกลิ่นน้ำตัวอย่างโดยใช้ถ่านไม้ 2 ชนิดเปรียบเทียบกัน ผลการทดลองสรุปว่า ถ่านจากกะลามะพร้าวสามารถดูดกลิ่นได้ดีกว่าถ่านไม้ธรรมดา และถ่านจากกะลามะพร้าวชนิดผงจะดูดกลิ่นได้ดีกว่าชนิดก้อน ตอนที่ 2 ทดสอบความสามารถในการกรองตะกอนของเนื้อเยื่อพืช 4 ชนิด คือ ต้นกก นุ่น ผักตบชวา และกาบมะพร้าว โดยการทำเนื้อเยื่อทั้ง 4 ชนิดให้เป็นแผ่น แล้วนำมากรองน้ำเสีย ผลการทดสอบคือ เนื้อเยื่อนุ่นสามารถทำให้น้ำใสได้ดี และเมื่อทดลองใช้เนื้อเยื่อบุสดไม่ได้ทำเป็นแผ่นมาทดลอง พบว่า เนื้อเยื่อจากนุ่นชนิดบุสดสามารถจับตะกอนได้ดี ตอนที่ 3 เป็นการทดสอบความสามารถในการจับไขมัน โดยการนำผิวหน้าน้ำที่ผ่านการกรองแล้วมาหยดลงบนกระดาษซับมันเพื่อดูความโปร่งแสงของกระดาษซับมัน ผลการทดลองสรุปได้ว่าน้ำที่ผ่านการกรองโดยเนื้อเยื่อกกมีความโปร่งแสงน้อยที่สุด แสดงว่าดักไขมันได้ดี และเมื่อทำการเปรียบเทียบเนื้อเยื่อพืชบุสดกับเนื้อเยื่อพืชที่ทำเป็นแผ่นกรอง มาทดสอบการดักไขมัน พบว่าเนื้อเยื่อต้นกกชนิดบุสดสามารถจับไขมันได้ดี ตอนที่ 4 ทดสอบความสามารถในการจับโลหะหนัก พบว่า เนื้อเยื่อผักตบชวาที่เป็นแผ่นกรองสามารถจับโลหะหนักได้ดี แต่ถ้าเป็นเนื้อเยื่อบุสด พบว่า เนื้อเยื่อนุ่นบุสดจับโลหะหนักได้ดี ตอนที่ 5 ทดสอบเปรียบเทียบค่า pH, DO, สี และความขุ่นของน้ำที่ผ่านเนื้อเยื่อแผ่นกรองและจากเนื้อเยื่อบุสด พบว่า เยื่อกรองกาบมะพร้าวมีประสิทธิภาพดีที่สุด แต่เมื่อทดสอบกับเนื้อเยื่อบุสด พบว่านุ่นมีประสิทธิภาพดีที่สุด