โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องใบขี้เหล็กปรับ pH ของน้ำในบ่อเลี้ยงปลา
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป248/2539 โครงงานนี้เป็นการศึกษาทดลองความสามารถในการปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาของใบขี้เหล็ก ใบมะเฟือง ใบมะยม ใบฝรั่ง โดยการนำเอาใบขี้เหล็ก ใบมะเฟือง ใบมะยม ใบฝรั่ง มาชั่งให้ได้ 100 g เท่า ๆ กัน แล้วนำไปทดลองการเปลี่ยน pH ของน้ำปูนซีเมนต์ โดยการนำพืชทั้ง 4 ชนิดนี้แช่ลงไปในน้ำแต่ละถัง ผลปรากฏว่าใบขี้เหล็กเป็นตัวที่เปลี่ยน pH ของน้ำได้ดีที่สุด โดยดูจากตัวเลขจาก pH meter เมื่อรู้ว่าใบขี้เหล็กเป็นตัวปรับ pH ของน้ำปูนซีเมนต์ได้ดีที่สุด ก็ทดลองต่อไปโดยใช้ใบขี้เหล็กอย่างเดียวแต่ใช้น้ำหนักต่างกันคือ 100 g, 150 g, 200 g และระยะเวลาที่แช่เท่ากันคือ 2 วัน และทดลองต่อไปอีกโดยใช้น้ำหนักใบขี้เหล็กอย่างเดียวคือ 250 g แต่ใช้เวลาที่แช่ต่างกันคือ 2 วัน 4 วัน 6 วัน 8 วัน 10 วัน ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ 2-6 วัน จากนั้นนำผลการทดลองที่ได้จากห้องทดลองไปทดลองในบ่อปลาที่สร้างเสร็จใหม่ โดยใช้ใบขี้เหล็ก 10 กิโลกรัมแช่ลงในบ่อที่สร้างเสร็จใหม่ ทิ้งไว้ระยะเวลา 6 วัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ใบขี้เหล็กเป็นตัวปรับ pH ของน้ำปูนซีเมนต์ได้ดีที่สุด จาก pH ก่อนการทดลอง 11.0 กลายเป็น pH หลังการทดลองคือ 7.2 ก็สามารถที่จะนำปลาหรือกบมาเลี้ยงได้ โครงงานเรื่องนี้ สามารถเป็นแนวทางไปใช้กับบ่อปลาที่สร้างเสร็จใหม่ เพื่อจะได้ลดระยะเวลาที่แช่น้ำในบ่อได้เหลือ 4-6 วัน จาก 1-2 เดือน และยังประหยัดน้ำอีกด้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จักรพงษ์ บุญตันจีน
ประชัน ปาลี
ภานุพงศ์ มหาพรหม
อดิศร ธรรมปัญโญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนิดา วิเศษสรรค์
พรรณี ประวัง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p73
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์