โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens. Stal.) ในนาข้าวด้วยมะละกอ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อาชีพเกษตรกรรมในภาคกลาง โดยเฉพาะอาชีพการทำนาเป็นอาชีพหลักและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ปีหนึ่งเป็นจำนวน แต่การทำนาดังกล่าวมักประสบกับปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้ได้ผลผลิตที่ต่ำ เกษตรกรจึงหาทางแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเคมี ซึ่งสารเคมีดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จึงจัดทำโครงงานเรื่องการศึกษาการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens. Stal.) ในนาข้าวด้วยมะละกอขึ้นมา โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหาสูตรความเข้มข้นของน้ำหมักมะละกอที่เหมาะสมต่ออัตราการตายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบหาประสิทธิภาพน้ำหมักมะละกอในการหมักด้วยระยะเวลาที่ต่างกันเพื่อฆ่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประโยชน์สามารถลดค่าใช้จ่าย ลดปริมาณการใช้สารเคมีในนาข้าวและสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยไม่มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้นำพืชผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการตอบสนองตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กนกภรณ บุญสุพิน

  • ญาณิศา ครุฑธจร

  • ยุทธนา ศรีวงษ์จันทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทชีวภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ข้าวการป้องกัน

  • มะละกอสารสกัด

  • เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์