โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการตรวจหาสารฟอกขาวโดยใช้สารสกัดจากพืชบางชนิด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชวลิต จิตวิจารณ์

  • รัศมี คุ้มจันทึก

  • โสรยา สาสูงเนิน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดิเรก นวสุขารมย์

  • ประภาภรณ์ วายุภักตร์

  • สมเกียรติ แก้ววิเวก

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสีคิ้ว "สวัสดิ์ผดุงวิทยา"

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ถั่วงอก

  • สารฟอกขาว

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง"การตรวจหาสารฟอกขาวจากถั่วงอกโดยใช้สารสกัดจากพืชบางชนิด" เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากทางสมาชิกได้รับฟังข่าวสารเกี่ยวกับการนำสารฟอกขาวมาใช้ในการฟอกสีของถั่วงอก เพื่อให้มีสีขาวน่ารับประทานจึงเกิดความสนใจที่จะหาวิธีการตรวจสอบว่าถั่วงอกร้านใดบ้างที่ใช้สารฟอกสีถั่วงอก จึงได้ศึกษาคุณสมบัติของสารฟอกขาวจากเอกสารต่างๆพบว่าสารฟอกขาวนั้นสามารถฟอกจางสีต่างๆได้จึงมีความคิดว่าหากเรานำสารสกัดจากพืชที่มีสีมาทดสอบกับถั่วงอกที่แช่สารฟอกขาว น่าจะฟอกสีจากพืชได้จึงได้ออกแบบทดลองดังนี้ ตอนที่1 ศึกษาความเป็นมาเป็นไปอย่างไร ตอนที่2 ศึกษาพืชชนิดต่างๆ ตอนที่3 ศึกษาตัวทำละลาย ตอนที่4ศึกษาความเข้มข้นของตัวทำละลาย ตอนที่5ศึกษาอุณหภูมิของตัวทำละลาย ตอนที่6ศึกษาระยะเวลาแช่ตัวทำละลาย ตอนที่7ศึกษาการนำไปใช้ ตอนที่8ศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ จากการทดลองพบว่าเราสามารถใช้สารสกัดจากพืชที่มีสีในทดสอบสารฟอกขาวจากถั่วงอกได้เช่น ดอกอัญชัน, ดอกชบา,ดอกคุณนายตื่นสาย,ลูกหว้า,เปลือกมังคุด และเมล็ดผักปลัง โดยสารสกัดจากพืชที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้แก่ลูกหว้าที่มีผลต่างของค่าความสว่างเท่ากับ 180.67 รองลงมาได้แก่ ดอกชบา และดอกอัญชัน ตามลำดับ ซึ่งมีผลต่างของค่าความสว่างเท่ากับ 110 และ 52.33 Lux ตามลำดับ จากการศึกษาเกี่ยวกับตัวทำละลายพบว่าสาระลายเอทานอลที่มีความเข้มข้นร้อนละ 16 แช่ไว้ ณ อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา5 นาที จะมีประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยากับสารฟอกขาวได้ดีที่สุดซึ่งสามารถวัดผลต่างของค่าความสว่างได้ 529.67 Lux