โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิด้วยสารละลายน้ำเกลือก่อนปลูก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิด้วยสารละลายน้ำเกลือก่อนปลูก เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ในการปลูก เป็นการไม่เสี่ยงต่อการลงทุนของเกษตรกร ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ความเข้มข้นของสารละลายน้ำเกลือ เมล็ดจมและลอยของเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อนำเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิจากแหล่งต่าง ๆ จำนวน 7 แหล่ง กระจายทั่วเขตอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มาลอยในสารละลายน้ำเกลือที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน จำนวนเมล็ดจมกับเมล็ดลอยแตกต่างกัน เมล็ดจมมีจำนวนมากกว่าเมล็ดลอยที่ทุกระดับความเข้มข้น และที่ระดับความเข้มข้นที่ 10 % โดยน้ำหนักต่อปริมาตร สามารถคัดแยกเมล็ดจมและลอยได้มากที่สุด หลังจากนั้นศึกษาช่วงความเข้มข้น 1-10%โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ปรากฎว่าร้อยละของการงอกและอัตราการเจริญเติบโต(ความสูง) ของเมล็ดจมและลอยที่ผ่านการคัดเมล็ดพันธุ์ด้วยการลอยในสารละลายน้ำเกลือความเข้มข้นต่างกัน เมล็ดจมจะมีค่าสูงกว่าทุกความเข้มข้น เมื่อนำผลต่าง ๆ ของร้อยละของการงอกและอัตราการเจริญเติบโต (ความสูง) ระหว่างเมล็ดจมกับเมล็ดลอยมาสัมพันธ์กันแล้ว ความเข้มข้นของสารละลายน้ำเกลือที่เหมาะสมในการคัดแยกเมล็ดจมกับเมล็ดลอยได้ดีที่สุด ได้แก่ 4% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร การคัดเมล็ดพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ ก็สามารถใช้วิธีการนี้ได้เช่นกัน แต่ต้องศึกษาการใช้ความเข้มข้นของสารละลายน้ำเกลือที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิดก่อน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุวรรณ ปั้วเจริญ
รัตนโชติ มะลิซ้อน
อนุชา ทิยาเวช
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิรันดร์ เหลืองสวรรค์
นิลนาฎ กองแก้ว
ลดาวัลย์ หรรษาพันธุ์
สุริยา โก้พิมาย
อำนาจ เดชสุภา ผู้อำนวยการ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ข้าว การปลูก
ข้าว เมล็ดพันธุ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์