โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำหมักจากเปลือกสับปะรดและเปลือกหอมหัวใหญ่กำจัดเพลี้ยแป้งลาย
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาการกำจัดเพลี้ยแป้งลายด้วยน้ำหมักจากเปลือกสับปะรดผสมกับน้ำหมักจากเปลือกหอมหัวใหญ่ เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมีและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ชนิดของวัสดุที่ใช้หมัก อัตราส่วนของน้ำหมัก สถานที่ฉีดพ่นน้ำหมัก ผลการศึกษาพบว่า ที่ห้องปฏิบัติการเศษผักจากเปลือกหอมหัวใหญ่ที่หมักกับกากน้ำตาลสามารถกำจัดเพลี้ยแป้งลายได้ จำนวนเฉลี่ยนสูงสุด 9.33 ตัว คิดเป็น 93.30 % เศษผลไม้จากเปลือกสับปะรดที่หมักกับกากน้ำตาลสามารถกำจัดเพลี้ยแป้งลายได้จำนวนเฉลี่ยนสูงสุด10.00 ตัว คิดเป็น 100.00% ส่วนที่สภาพจริงจากการฉีดพ่นน้ำหมหักกำจัดเพลี้ยแป้งลายที่แพร่ระบาดบนต้นกล้วย น้ำหมักจากเปลือกหอมหัวใหญ่และเปลือกสับปะรดยังสามารถกำจัดเพลี้ยแป้งลายได้สูงสุดเช่นเดิม อัตราส่วนระหว่าง นำหมักจากเปลือกสับปะรดผสมกับน้ำหมักจากเปลือกหอมหัวใหญ่ที่สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งลายได้มากที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุดในการกำจัดได้แก่ รหัสอัตราส่วน A70B คือ น้ำหมักจากเปลือกสับปะรด 70 % ผสมกับน้ำหมักจากเปลือกหอมหัวใหญ่ 30 % โดยปริมาตร การใช้งานจริงของน้ำหมักรหัสอัตราส่วน A70B กับสภาพแปลงผักชนิดต่าง ๆ เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งลายที่แพร่ระบาดอยู่ ได้ผลลดลงมากถึงไม่มีเพลี้ยแป้งลายเหลืออยู่เลย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ก้องนภา คะนาพงษ์
ปนัดดา เพิ่มสุวรรณ
อ้อมใจ มะหิรัญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิรันดร์ เหลืองสวรรค์
นิลนาฎ กองแก้ว
ลดาวัลย์ หรรษาพันธุ์
สุริยา โก้พิมาย
อำนาจ เดชสุภา ผู้อำนวยการ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 2545
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การหมัก
เพลี้ย
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์