โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาการยืดอายุผลลำไยด้วยไคโตซานจากเปลือกปูนา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญาณนันท์ บ่อยกระโทก
ฐานานุศักดิ์ หาญลิพงศ์
ไพลิน ป่งแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปูนาไคโตซาน
ลำไยการยืดอายุ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการยืดอายุผลลำไยด้วยไคโตซานจากเปลือกปูนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสกัดไคติน ไคโตซานจากเปลือกปูนา โดยอ้างอิงสภาวะที่เหมาะและเปรียบเทียบอายุของผลลำไยที่เคลือบด้วยไคโตซานจากเปลือปูนากับไคโตซานมาตรฐาน โดยศึกษา 6 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการสกัดไคโตซานจากเปลือกปูนาโดยอ้างอิงสภาวะที่เหมาะสม ตอนที่ 2 ศึกษาความเข้มข้นของสารละลายกรดอะซีติกที่เป็นตัวทำละลายไคโตซาน ตอนที่ 3 ศึกษาการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่บนผลลำไยด้วยสารละลายไคโตซานจากเปลือกปูนา ตอนที่ 4 ศึกษาอัตราว่สนของไคโตซานต่อสารละลายกรดอะซีติกที่สามารถยืดอายุลำไยได้นานที่สุด ตอนที่ 5 เปรียบเทียบอายุของผลลำไยธรรมชาติกับการยืดอายุของลำไยที่เคลือบด้วยไคโตซาน ตอนที่ 6 เปรียบเทียบอายุของผลลำไยที่เคลือบด้วยไคโตซานจากเปลือก ผลจากการทดลองการสกัดสารไคตินไคโตซานมาใช้ในการเคลือบเพื่อยืดอายุของผลลำไยพบว่า ความเข้มข้นของกรดอะซิติกที่สามารถทำลายไคโตซานได้ดีที่สุด ที่เลือกมาใช้คือ กรดอะซิติกเข้มข้น 1.5 โมลาร์ อัตราส่วนกระอะซิตริกที่นำมาใช้ในการทำลายไคโตซานคือกรดอะซิติกปริมาณ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตตอ่ไคโตซาน 1.7 กรัม โดยที่ผลลำไยที่เคลือบด้วยสารละลายไคโตซานจากเปลือกปูนาสามารถอยู่ได้นานถึง 16 วัน