โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาวงจรชีวิตของหนอนเยื่อไผ่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัลยา สิทธิสงคราม
ชลธิชา เพ็ชรณสังกุล
ทัศนีย์ ทัศนะวรพจน์
วัชรี บัวซอย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉวีวรรณ อ้นโสภา
มณัฐ กอบุตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
หนอนเยื่อไผ่การศึกษา
หนอนเยื่อไผ่วงจรชีวิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ศึกษาวงจรชีวิตของหนอนเยื่อไผ่ เป็นโครงงานประเภทสำรวจ และแบ่งการสำรวจออกเป็น 6 ขั้นตอน ตอนที่ 1 เป็นการศึกษาวงจรชีวิตของหนอนไม้ไผ่ ตอนที่ 2 เป็นการศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยของหนอนไม้ไผ่ ตอนที่ 3 เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพของหนอนไม้ไผ่ ตลอดจนถึงความแตกต่างของหนอนไม้ไผ่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตอนที่ 4 ศึกษาพฤติกรรมในการกินอาหารของหนอนไม้ไผ่ ตอนที่ 5 ศึกษาสารอาหารที่มีอยู่ในตัวหนอนไม้ไผ่ ตอนที่ 6 ศึกษาการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากหนอนไม้ไผ่ ทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ทั้ง 6 ตอนสรุปโดยรวมได้ดังนี้ หนอนไม้ไผ่มีวงจรชีวิตทั้งหมด 1 ปี มีการเจริญเติบโตแบบ Complete Metamorphosis เป็นการเจริญเติบโตจากไข่ เป็นระยะตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยตามลำดับ โดยหนอนไม้ไผ่อยู่ในวงศ์ Pyralidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Omphisa fuscidentalis Hampson และมีชื่อสามัญอยู่อีกหลายชื่อ ได้แก่ หนอนกินเยื่อไม้ไผ่ หนอนไม้ไผ่ รถด่วน ตัวแน้ หนอนไม้ไผ่เป็นศัตรูที่สำคัญของไผ่ โดยกินเยื่อไผ่ มักเจาะลำอ่อนของไผ่ เช่น ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ตง เป็นต้น และไผ่ที่พบการทำลายมากที่สุด คือ ไผ่ซางดอย ส่วนลักษณะของตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ปีกสีน้ำตาลส้มปนดำ มีลวดลายซิกแซก สีดำที่ขอบปีกคู่หน้าเห็นได้ชัดเจน มีหนวดแบบเส้นด้ายทั้งสองเพศ