โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบการกรองน้ำในตู้ปลาด้วยผงถ่านชนิดต่าง ๆ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวิธีการเสริมที่จะช่วยให้สภาพน้ำในตู้ปลาดีขึ้นโดยศึกษาวิธีการกรองน้ำด้วยผงถ่านจากพืชชนิดต่างๆ ได้แก่ ผงถ่านของกะลามะพร้าว ผงถ่านของผักตบชวา ผงถ่านของซังข้าวโพด และผงถ่านของเปลือกข้าว โดยเริ่มจากการคัดเลือกผงถ่านของพืชที่สามารถกรองน้ำได้ดีที่สุดก่อน เมื่อเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของน้ำ (กลิ่น, ความขุ่นใส) ปริมาณ o2 และระดับ pH พบว่าผงถ่านที่สามารถกรองน้ำได้ดีที่สุด คือ ผงถ่านของกะลามะพร้าว รองลงมาได้แก่ ผงถ่านจากเปลือกข้าว ซังข้าวโพดและผักตบชวา ตามลำดับ จากนั้นได้ศึกษาว่าเมื่อผสมผงถ่านของพืชกับทรายและถ่านไม้ เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของน้ำ (กลิ่น, ความขุ่นใส) ปริมาณ O2 และระดับ pH ที่ผ่านการกรอง พบว่าผงถ่านของพืชที่รวมกับทรายและถ่านไม้สามารถกรองน้ำได้ดีที่สุดคือ ผงถ่านของกะลามะพร้าว รองลงมาได้แก่ ผงถ่านของเปลือกข้าวและผงถ่านของซังข้าวโพด ตามลำดับ แล้วนำผงถ่านของพืชชนิดต่างๆ มาใช้กรองน้ำร่วมกับเครื่องกรองของเสียในตู้ปลาโดยใช้ระบบหมุนเวียน จากการทดลองพบว่า น้ำที่ผ่านการกรองด้วยผงถ่านจากกะลามะพร้าวและผงถ่านกะลามะพร้าวผสมทรายกับถ่าน จะมีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลามากที่สุด คือน้ำไม่มีกลิ่น และสามารถคงความขุ่นใสของน้ำได้นานเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ปริมาณ O2 เฉลี่ย 4.96 และ 1.24 mg/dm3 ตามลำดับ ความขุ่นใสเฉลี่ย 10.66 และ 20.83 cm ตามลำดับ ระดับ pH เฉลี่ย 10.6 และ 10.8 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังศึกษาชนิดของผ้าที่ห่อหุ้มผงถ่านและทรายอีกว่าระหว่างผ้าใยสังเคราะห์และผ้าใยธรรมชาติ ผ้าชนิดใดเมื่อกรองน้ำแล้วจะมีความขุ่นใสดีที่สุด พบว่าเป็นผ้าใยสังเคราะห์สามารถกรองน้ำได้ดีกว่า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พักตร์ประไพ แซ่ไหล

  • พิมพิการ์ กลั่นแก้ว

  • สุวิมล ทองล้วน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กรรณาภรณ์ โทนทอง

  • สมบูรณ์ แก้วเขียว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคกลาง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(28) p60

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ตู้ปลา

  • น้ำ การกรอง

  • ผงถ่าน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์