โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของเส้นใยธูปฤาษีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของเส้นใยกาบใบธูปฤาษีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเปรียบเทียบกับคุณภาพของเส้นใยกล้วย และก้านใบผักตบชวา โดยการศึกษาได้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบค่าแรงดึงขาดของเส้นใยกาบใบธูปฤาษี กาบใบกล้วย และก้านใบผักตบชวา โดยนำเส้นใยทั้ง 3 ชนิดมาตากให้แห้ง แล้วขูดเอาเนื้อเยื่อภายในออกให้เหลือเฉพาะผิวเส้นใยด้านนอกสุด แล้วนำมาทดสอบหาค่าแรงดึงขาด พบว่าค่าแรงดึงขาดของกาบใบกล้วยดีที่สุด รองลงมาคือกาบใบธูปฤาษี และกาบใบผักตบชวา ตามลำดับ ตอนที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบสภาพยืดหยุ่นและค่ามอดูลัสสภาพยืดหยุ่นของเส้นใยของพืชทั้ง 3 ชนิด โดยนำเส้นใยมาตากให้แห้ง แล้วขูดเนื้อเยื่อภายในออกให้เหลือเฉพาะผิวเส้นใยด้านนอกสุด แล้วนำมาทดสอบสภาพยืดหยุ่นและหาค่ามอดูลัสสภาพยืดหยุ่น พบว่า เส้นใยทั้ง 3 ชนิดมีสภาพยืดหยุ่นใกล้เคียงกัน แต่ค่ามอดูลัสสภาพยืดหยุ่นของกาบใบกล้วยมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือกาบใบธูปฤาษี และกาบใบผักตบชวา ตามลำดับ ตอนที่ 3 ศึกษาเปรียบเทียบความคงทนต่อกรดและเบสของเส้นใยของพืชทั้ง 3 ชนิด โดยนำเส้นใยที่แห้งแล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งแช่ในกรด อีกกลุ่มหนึ่งแช่ในเบส แล้วนำมาขูดเอาเนื้อเยื่อภายในออก นำมาทดสอบหาแรงดึงขาดพบว่า ความคงทนของเส้นใยในสารละลายกรด เส้นใยจากก้านใบผักตบชวาทนสภาพกรดได้ดีที่สุด เส้นใยจากใบกาบกล้วยรองลงมา และเส้นใยจากใบธูปฤาษีน้อยที่สุด สำหรับความคงทนของเส้นใยในสารละลายเบส พบว่าสารละลายเบสทำให้เส้นใยกาบใบกล้วย และเส้นใยก้านใบผักตบชวารับแรงดึงขาดได้เพิ่มขึ้น แต่สำหรับเส้นใยกาบใบธูปฤาษี คุณภาพของเส้นใยจะลดลงเมื่อแช่ในสารละลายเบส ตอนที่ 4 ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการติดสีย้อมของเส้นใยของพืชทั้ง 3 ชนิด โดยนำเส้นใยไปต้มในสารละลายของสีที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที แล้วนำไปผึ่งลม พบว่าเส้นใยทั้ง 3 ชนิดติดสีย้อมอยู่ในเกณฑ์ดีเท่ากัน ตอนที่ 5 ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะความเป็นมันของเส้นใยเมื่อฟอกขาวของพืชทั้ง 3 ชนิด โดยนำเส้นใยมาฟอกขาวโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮโปรคลอไรค์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำ นำไปผึ่งลม รีดเส้นใยให้เป็นแผ่น พบว่า เส้นใยกาบใบธูปฤาษีมีความเป็นมันมากที่สุด รองลงมาคือ เส้นใยกาบใบกล้วย และน้อยที่สุดคือ เส้นใยกาบใบผักตบชวา จากการศึกษาคุณสมบัติของเส้นทั้ง 5 ตอนที่กล่าวมาแล้ว พบว่าเส้นต้นธูปฤาษี มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นงลักษณ์ แก้วสาคร

  • นฤมล เสรีขจรจารุ

  • สุพรรณี นวลฉวี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ทองดี แย้มสรวล

  • ธิดา มีแต้ม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคกลาง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(28) p66

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ธูปฤาษี

  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์