โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำระบบอิเล็กทรอนิกส์
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ตามปริมาณแสงและศึกษาการสร้างเครื่องมือต้นแบบเพื่อใช้วัดความขุ่นของน้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า D.C หลอดไฟ สายไฟ กล่องทึบแสง หลอดแก้ว แอมมิเตอร์ และเครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำมาตรฐาน วัสดุที่ใช้ได้แก่ ดินเหนียว ตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ตามปริมาณแสง (LDR) แผ่นพลาสติก ฟิวเจอร์บอร์ด วิธีการโดย ทำการเตรียมน้ำที่มีความขุ่นแตกต่างกัน โดยใช้ดินเหนียวผสมกับน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยหลอดแรกใส่ดินเหนียวแห้งบดละเอียด 1 ช้อนชา หลอดที่ 2 2 ช้อนชา หลอดที่ 3 3 ช้อนชา และหลอดที่ 4 4 ช้อนชา จากนั้นนำไปทดสอบกับตัวต้านทาน โดยนำหลอดวางคั่นระหว่างตัวต้านทานกับหลอดไฟ จากนั้นทำการวัดสเกลที่เคลื่อนที่บนหน้าปัดของเครื่องวัดความขุ่นของน้ำมาตรฐาน จากนั้นนำแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดมาสร้างเป็นเครื่องมือใช้วัดความขุ่นของน้ำ โดยนำตัวต้านทานและหลอดไฟมาต่อแบบอนุกรม และสุดท้ายนำแผ่นพลาสติกมาใช้ทำตัวเครื่องแทนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการเทียบความขุ่นที่วัดได้ ปรับสเกลให้ตรงกับเครื่องวัดมาตรฐานแล้วทำการศึกษาเปรียบเทียบผลที่ได้ โดยนำน้ำจากสระบัว น้ำประปา น้ำกลั่น และน้ำกรองมาทดสอบ สรุปผลการทดลองพบว่า ดินเหนียวแห้ง 1 ช้อนผสมกับน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรจะทำให้เครื่องอ่านความขุ่นมีการเบนเข็มน้อยที่สุด ในขณะที่เมื่อใส่ดินเหนียว 4 ช้อน จะทำให้เครื่องมีการเบนเข็มมากที่สุด และจากการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยปรับค่าให้เท่ากับเครื่องมือมาตรฐานพบว่า สามารถทดสอบความขุ่นของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเครื่องมือมาตรฐาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปภาวี จิตตะ
สุมาลี แท้สูงเนิน
เจนจิรา ภู่บัว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศักดิ์ชัย ดีศรี
อนันต์ หลวงภักดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ความขุ่น
ตัวต้านทาน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์