โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำระบบอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำ โดยวิธีการทดลองแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาการทำงานของตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ตามปริมาณแสง (LDR)โดยเตรียมน้ำที่มีความขุ่นต่างกัน คือ น้ำ : ดินเหนียวแห้งบดละเอียด 4 เบอร์ 4 และ น้ำกลั่น : ดินเหนียวแห้งบดละเอียด 3 ทดสอบการเบนของเข็ม พบว่า น้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรเบอร์ 2 มีเข็มเบนมากที่สุด ตอนที่ 2 ศึกษาการสร้างเครื่องมือต้นแบบ โดยใช้ฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 30 x 60 cm. มาสร้างเป็นเครื่องมือ แล้วนำแอมมิเตอร์, ตัวต้านทาน LDR และหลอดไฟ 6.3 บรรจุภายในเครื่องมือ แล้วทดสอบน้ำเช่นเดียวกับตอนที่ 1 พบว่าถ้าความขุ่นของน้ำมากจะทำให้เข็มสเกลเคลื่อนไปได้มาก ตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำแผ่นพลาสติกดัดด้วยความร้อนจากขดลวดนิโครมเช่นเดียวกับตอนที่ 2 และสร้างสเกลโดยนำน้ำที่ผ่านการวัดความขุ่น ด้วยเครื่องมือวัดความขุ่นมาตรฐานมาปรับสเกลเครื่องมือที่สร้างขึ้นให้อ่านค่าได้ตรงกัน จากนั้นนำน้ำกลั่น น้ำกรอง น้ำประปา และน้ำจากสระบัวในโรงเรียนมาทดสอบ พบว่า อ่านค่าได้ตรงกันกับเครื่องมือมาตรฐาน ตอนที่ 4 ศึกษาการใช้เครื่องมือทดสอบน้ำบริเวณต่างๆ เป็นเวลา 1 ปี โดยใช้น้ำจาก แม่น้ำปิง , แม่น้ำน่าน , แม่น้ำเจ้าพระยา , อุทยานสวรรค์ และบึงบอระเพ็ด มาทดสอบกับเครื่องมือที่พัฒนาแล้ว พบว่าเครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้วัดความขุ่นของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปภาวี จิตตะ

  • สุมาลี แท้สูงเนิน

  • เจนจิรา ภู่บัว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศักดิ์ชัย ดีศรี

  • อนันต์ หลวงภักดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีนครสวรรค์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนล่าง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ความขุ่น

  • น้ำ

  • เครื่องมือ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์