โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาเทคนิคการใช้โพลิเมอร์ช่วยประหยัดน้ำในการปลูกพืช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ราศรี ก้อนจันทร์เทศ และคณะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย การเกษตร ภาคเหนือตอนบน
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2538 6(16) p64
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ดินวิทยาศาสตร์
น้ำ
โพลิเมอร์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
คณะผู้ทดลองได้เห็นน้ำที่นักการภารโรงใช้รดต้นไม้ในโรงเรียนไหลนอง รู้สึกเสียดายอยากจะหาวิธีประหยัดน้ำไว้ใช้ให้คุ้มค่าจึงคิดจะนำ "ดินวิทยาศาสตร์" มาทดลองใช้ คณะทดลองได้ตั้งสมมุติฐานว่าการใช้โพลิเมอร์อิ่มตัว(ดินวิทยาศาสตร์) มาผสมดินในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะช่วยรักษาน้ำส่วนเกินไว้ให้พืชนำมาใช้ได้ ก็จะประหยัดน้ำได้ทางหนึ่ง การวัดปริมาณน้ำที่พืชใช้ได้ในดินเป็นเรื่องยากมาก ผู้ทดลองจึงใช้พืชเป็นตัวบ่งชี้ โดยตีความหมายว่าถ้ายังมีน้ำที่พืชใช้ได้อยู่ในดินพืชก็จะยังสด ถ้าน้ำหมดพืชก็จะเฉา การคัดเลือกพืชมาเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้สุ่มตัวอย่างมา 5 ชนิด และ ถั่วหลา ได้ถูกเลือกใช้ การใช้โพลิเมอร์อิ่มตัวผสมดินในอัตราร้อยละ 5, 10, 15, 20, 25 เปรียบกับพืชชนิดเดียวกันที่ปลูกในดินธรรมดาเป็นกลุ่มควบคุม พบว่าส่วนผสมร้อยละ 20 เหมาะสมที่สุด การรดน้ำดินผสมโพลิเมอร์ควรให้แต่น้อยใช้เวลานานเพื่อให้โพลิเมอร์ดูดซับไว้ได้เต็มที่ การรดน้ำไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน อาจเว้นได้ถึง 5 วันต่อครั้ง ครั้งหนึ่ง ๆ รดเท่าที่ดินสามารถรับได้เท่านั้น ทำให้ประหยัดน้ำได้มาก