โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้อาหารวุ้นจากพืชท้องถิ่น

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและทดลองใช้พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นส่วนผสมของอาหารวุ้นแทนมันฝรั่งในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้า และเปรียบเทียบคุณภาพและผลผลิตของดอกเห็ดที่ได้ โดยทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้าบนอาหารวุ้นที่ทำจากพืชท้องถิ่นต่อไปนี้คือ มันเทศ มันสำปะหลัง ฟัก ฟักทอง เผือก และหัวผักกาด เปรียบเทียบกับการเจริญของเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้าบนอาหารวุ้นที่ทำจากมันฝรั่ง เปรียบเทียบคุณภาพของอาหารวุ้นที่ทำจากพืชท้องถิ่นและมันฝรั่งที่ไม่ปอกเปลือกและปอกเปลือก และเปรียบเทียบคุณภาพและปริมาณผลผลิตของดอกเห็ดที่ได้ ปรากฏว่า เนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้าที่เจริญบนอาหารวุ้นที่ทำจาก ฟักทอง มันเทศและเผือก มีผลใกล้เคียงกับการเจริญบนอาหารวุ้นที่ทำจากมันฝรั่ง และเจริญได้ดีกว่าพืชท้องถิ่นชนิดอื่นที่นำมาทดลอง อาหารวุ้นที่ทำมาจากพืชท้องถิ่นและมันฝรั่งที่ไม่ปอกเปลือกมีคุณภาพดีกว่าที่ปอกเปลือก เราสามารถนำเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้าที่เพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นที่ทำจากมันเทศ ฟักทอง และเผือก (ไม่ปอกเปลือก) ไปเพาะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่างและเพาะต่อในถุงขี้เลื่อยให้เจริญเป็นดอกเห็ดได้ และได้ผลผลิตใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นที่ทำจากมันฝรั่ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กาญจนา พลอยงาม

  • ปิยะนาท ตุ้มพุ่ม

  • วิไลพร เชิญขวัญมา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธีระศักดิ์ ฉัตรกาญจนากูล

  • รัศมี ไทยปิยะ

  • สนิท ยุทธชนะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพยุหะพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย การเกษตร ภาคเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(10) p82

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เพาะเห็ดนางฟ้า อาหารวุ้นจากพืชท้องถิ่น

  • เห็ดนางฟ้า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์