โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสมุนไพรจากธรรมชาติกันยุง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์มีประชากรเป็นโรคไข้เลือดออกติดอันดับของภาคเหนือ โครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตยาทากันยุงจากสมุนไพรธรรมชาติ เพื่อป้องกันยุงที่เป็นต้นเหตุของไข้เลือดออก สมุนไพรที่ใช้ในการศึกษาเป็นสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ ไพล ขิง ใบบัว ขมิ้น กระเทียม สะเดา น้อยหน่า ผักเสี้ยนผี ควินิน ส้มป่อย เสลดพังพอน บอระเพ็ด ชุมเห็ดเทศ ชะพลู แมงลัก โหระพา กระชาย สะระแหน่ และมะกรูด นำมาหั่นละเอียด กลั่นสมุนไพรแต่ละชนิดด้วยชุดกลั่นไอน้ำ แล้วแยกน้ำมันหอมระเหยที่ได้ออกจากน้ำ จากนั้นนำไปผสมกับเอทานอล 95 % ในอัตราส่วนต่างๆ ทั้ง 19 ชนิด นำแต่ละชนิดไปทดสอบทาผิวหนังของผู้ทดลอง สังเกตอาการระคายเคือง ยาทากันยุงจากวิธีนี้มี 80 สูตร สูตรที่ดีที่สุด คือ สูตรที่ใช้ปริมาตรของเอทานอล : น้ำมันหอมระเหยจากไพลเท่ากับ 1: 2 ซึ่งเป็นยาทากันยุงใสไม่มีสี กลิ่นฉุนมากแต่ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองเมื่อทาที่บริเวณผิวหนัง เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพพบว่า ระยะเวลาป้องกันยุงมาเกาะผิวหนังบริเวณหลังมือโดยเฉลี่ย 150.33 นาที ยาทากันยุงที่ผลิตขึ้นนี้มีประสิทธิภาพป้องกันยุงน้อยกว่ายาทากันยุงที่ขายในท้องตลาดแต่ปลอดภัยจากสารเคมีและประหยัดกว่า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุรีพร แก้วตัน
พรรณทิภา วังคีรี
วรวรรณ ทันตา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กีรติศักดิ์ เพ็ชรแก้ว
สาธนา แก่นสน
อ๊อด ศรีมูล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนล่าง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(34) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ยากันยุง
ยุง การป้องกัน
สมุนไพร
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์