โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเห็ดนางฟ้าภูมิปัญญาเยาวชนไทย
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวัตถุดิบทดแทนในการเพาะเห็ดนางฟ้าแทนขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งมีราคาสูง วัสดุที่ใช้ในการทดลองได้แก่ วัสดุเหลือใช้ตามธรรมชาติ เช่น กากมะพร้าว ซังข้าวโพด ฟางข้าว เปลือกข้าว ผักตบชวา และเปลือกแปจี วิธีการทดลองคือนำวัสดุที่ใช้ทดสอบมาหั่นแล้วจึงนำไปปั่น จากนั้นนำไปตากจนแห้ง เสร็จแล้วนำไปบรรจุถุงรดน้ำให้ชุ่ม พร้อมกับใส่เชื้อเห็ดแล้วนำมานึ่งจากนั้นจึงนำมาเพาะเห็ดและหาส่วนผสมที่ใช้เพาะเห็ดได้ดีที่สุด โดยทำการบันทึกผลผลิตที่เก็บได้ใช้เวลา 3 4 เดือน ผลการทดลองพบว่าวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดนางฟ้าได้ใกล้เคียงกับขี้เลื่อยยางพาราคือ กากมะพร้าว รองลงมาคือ ซังข้าวโพด มื่อนำกากมะพร้าวและซังข้าวโพดมาทำเป็นอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดและเพิ่มอาหารเสริม ปริมาณผลผลิตที่ได้ก็ใกล้เคียงกับเห็ดที่เพาะจากการยางพารา ประโยชน์ที่ได้รับคือสามารถใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้เพาะเห็ด ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน และลดขยะ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปฏิญญา กุมสันเทียะ
ปริวัตร เปลี่ยนศิริ
ภัทฐิกรณ์ พรมเมือง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กิติพงศ์ พรมเมือง
จันทร์คำ จุมปูโสด
ประดับ เดือนจันทร์ฉาย
ยุพิน ปงรังสี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนล่าง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การเพาะเห็ด เห็ดนางฟ้า
วัสดุเหลือใช้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์