โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุทดแทนขี้เลื่อยยางพาราในการเพาะเห็ด
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวัสดุทดแทนขึ้เลื่อยยางพาราในการเพาะเห็ด มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดต้นทุนในการเพาะเห็ดให้แก่เกษตรกร เนื่องจากขี้เลื่อยยางพารามีราคาสูงขึ้น คณะผู้จัดทำโครงงานได้ทดลองใช้หญ้ามาเลเซีย และหญ้าผสมแทนขึ้เลื่อยยางพารา ผสมกับอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ในการเพาะเห็ดนางฟ้าพันธุ์ภูฐาน ผลการทดลองพบว่า ขึ้เลื่อยยางพาราและอาหารเสริมสูตรที่ 2 ให้น้ำหนักเฉลี่ยดอกเห็ดมากที่สุดคือ 72.31 g จำนวนดอกเฉลี่ย 6 ดอก ขนาดดอกเฉลี่ย 8.40 cm3 ขี้เลื่อยยางพาราผสมกับหญ้าผสมและอาหารเสริมสูตร 2 ให้น้ำหนักเฉลี่ยดอกเห็ดรองลงมาคือ 70.28 g จำนวนดอกเฉลี่ย 5 ดอก ขนาดดอกเฉลี่ย 8.60 cm3 อันดับ 3 คือ หญ้าผสมและอาหารเสริมสูตร 2 ให้น้ำหนักเฉลี่ยดอกเห็ด 69.37 g จำนวนดอกเฉลี่ย 9.30 cm3 สำหรับส่วนผสมที่ให้น้ำหนักเฉลี่ยดอกเห็ดน้อยที่สุดคือ 48.29 g จำนวนดอกเฉลี่ย 3 ดอก ขนาดดอกเฉลี่ย 7.00 cm3 ่คือ หญ้าผสมและอาหารเสริมสูตร1 สรุปได้ว่าอาหารเสริมที่ใช้เพาะเห็ดนางฟ้าได้ดีที่สุดคือ อาหารเสริมสูตร 2
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สรรชัย จันทะจร
สุรเชษฐ์ เปรมรัตน์
อาทิตยา เจริญผล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กุสุมา ชำนาญกิจ
ธีรพล จิณแพทย์
อุไรวรรณ ศรีสุวรรณนาภรณ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
วัสดุทดแทน
เห็ด การเพาะ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์