โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องโฟมธรรมชาติ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โฟมธรรมชาติเป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเพราะย่อยสลายง่ายและเป็นการนำวัสดุไม่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ใหม่ ช่วยในการลดปัญหาขยะ ในกระบวนการผลิตได้ใช้ไส้ (pith) ของต้นมันสัมปะหลังเป็นวัสดุลอยน้ำ เส้นใยกาบกล้วยและแป้งเปียกเป็นตัวประสาน จากการทดลองพบว่าอัตราส่วนที่พอเหมาะขององค์ประกอบ ก็คือ ไส้มันสัมปะหลัง : ใยกาบกล้วย : แป้งเปียก เท่ากับ 3:2:1 โดยปริมาตร นวดให้เข้ากัน บรรจุลงแม่พิมพ์แล้วอบความร้อนทำลายสารตกค้าง และระเหยให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส กลับทุก 5 นาที นาน 30 นาที จะได้โฟมธรรมชาติที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ดี มีความแข็งแกร่ง เหนียว ทนทาน เป็นฉนวนความร้อนความเย็นได้ดี เมื่อเผาไหม้ในที่มี O2 เพียงพอจะเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีเขม่า ย่อยสลายได้เองโดยธรรมชาติและนำมารีไซเคิลใหม่ได้ โฟมธรรมชาติจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ผลิตง่าย ใช้คุ้มค่า ราคาถูก ไร้มลพิษ และช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทิดา นิยมพานิช
พรทิศา วิหคเหิร
เปรมวิสาข์ สุธรรมานันท์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทิพพาภรณ์ สุทธิศันสนีย์
ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ
วิเชียร ชื่นใจเล็ก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(28) p72
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
สิ่งประดิษฐ์
โฟม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์