โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการดองแมงกระพรุนด้วยเปลือกมังคุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศศิวิมล สูงสน

  • สิทธินี ดุษฎีวงษ์กำจร

  • สุดารัตน์ เจริญพงษ์

  • อารมณ์ ไกรทอง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จำเนียร ไชยรัตน์

  • มนตรี ตะเวทีกุล

  • ไพฑูรย์ สิงห์ตา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนระยองวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย การเกษตร ภาคตะวันออก

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(11) p71

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • มังคุด ใช้เปลือกดองแมงกระพรุน

  • แมงกระพรุน การดอง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

แมงกระพรุนเป็น (jellfish) เป็นสัตว์น้ำที่นำมาบริโภคกันนานแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย โดยมักจะนิยมกันในหมู่ของชาวประมง ต่อมาความนิยมในการนำมาบริโภคมีมากขึ้นโดยในช่วงแรก ได้มีการนำเอาแมงกระพรุนมาดองด้วยเปลือกไม้ที่มีรสฝาด เช่นเปลือกนนทรีย์ เปลือกสน เปลือกเสม็ด เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเปลือกไม้เหล่านี้หาได้ยากขึ้น ในปัจจุบันได้มีการนำสารเคมี คือ เกลือและสารส้มมาดอกแมงกระพรุนเพื่อการส่งออก โดยการทำแห้งก่อนส่งออก แต่การดองโดยวิธีนี้ได้แมงกระพรุนที่มีสีไม่ชวนรับประทาน และมีการนำเอาสารบางอย่าง ซึ่งเป็นอันตราย คือบอแรกซ์มาใช้ดอง ดังนั้นโครงงานนี้จึงได้ศึกษาหาวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ในการดองแมงกระพรุน และจากการศึกษาก็พบว่าเปลือกมังคุดสามารถใช้ดองร่วมกับสารเคมี คือเกลือและสารส้ม ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์แมงกระพรุนดองที่มีลักษณะเนื้อกรอบ สีสรรสวยงามน่ารับประทาน และเมื่อนำมาทำแห้งสามารถเก็บไว้ได้นาน เมื่อต้องการนำมารับประทานก็เพียงแต่นำมาแช่น้ำ ล้างเอาความเค็มออกแล้วนำไปลงกินกับน้ำจิ้มได้ โดยการดองให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีตามต้องการนั้นจะใช้เปลือกมังคุดที่ทำให้แห้งโดยการอบและมาดองร่วมกับเกลือกับสารส้มโดยใช้ อัตราส่วนเปลือกมังคุดแห้ง 100 กรัม เกลือ 50 กรัม ผสมกับสารส้ม 14 กรัมต่อแมงกระพรุน 1 กิโลกรัม ดองเป็นเวลา 3-4 วัน แล้วจึงเอาออกล้างน้ำ แช่น้ำสะอาดเก็บไว้ หรือนำไปทำแห้ง โดยการผึ่งแห้ง 2-3 วัน แล้วเก็บไว้บริโภคต่อไปได้