โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องครองแครงนพเก้า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ฐิติพร จันหอม

  • บัณฑิต ชวนขุนทด

  • เกษรา วิเศษกุลพรหม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนล่าง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ครองแครง

  • สี

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สีจากพืชแทนการใช้สีสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ใส่ในขนมครองแครง พืชที่ใช้ได้แก่ ใบกะหล่ำปลีสีม่วง หัวแครอท กาบมะพร้าว ใบเตย ไข่ น้ำดอกกระเจี๊ยบแดง ผลกล้วย มะเขือเทศ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกอัญชัน และเผือก โดยทำการสกัดสีจากพืชดังกล่าว แล้วนำไปผสม ในการทำครองแครงโดยใช้แป้งสาลีกับแป้งมันผสมกับไข่ไก่ น้ำกะทิ มาการีน ร่วมกับสีที่สกัดจากพืช จากนั้นจึงนำครองแครงที่ได้ไปอบและทอดโดยทำการเพิ่มเกลือและพริกไทยในระหว่างที่ทำการอบ หลังจากนั้นนำมาเคลือบด้วยน้ำตาลปี๊บ พริกไทย และเกลือ ผลการทดลองพบว่าหลังจากทำครองแครงแล้วทำให้ได้สีผสมครองแครงที่เหมาะสมดังนี้ สีเหลืองจากฟักทอง สีม่วงจากกะหล่ำปลีสีม่วง สีส้มเหลืองจากแครอท สีดำจากกาบมะพร้าว สีเขียวจากใบเตย สีชมพูจากดอกกระเจี๊ยบ สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน สีส้มแดงจากมะเขือเทศ จากการสำรวจพบว่าสูตรที่มีผู้นิยมมากที่สุดคือ สู่ตรที่ใช้สีเหลืองจากฟักทอง และสีส้มจากมะเขือเทศ ประโยชน์ที่ได้รับคือ ลดต้นทุนในการทำครองแครงและได้สีจากธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค