โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องฟอกอากาศชีวภาพ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สีขาว เชื้อปรุง
สุทธาสินี รังสิเสนา ณ อยุธยา
สุภัสสรภรณ์ เชิดชู
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กมล พิพิธกุล
ฐิทารีย์ พงษ์ทองเจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(26) p61
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
สิ่งประดิษฐ์
เครื่องฟอกอากาศ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผู้ทำโครงงานได้ประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศชีวภาพโดยทำการทดลอง 2 ตอน ตอนที่ 1 ทดลองนำเนื้อเยื่อของผักตบชวา นุ่น และกาบมะพร้าว มาหั่นและฉีกให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำไปปั่นโดยแบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กาบมะพร้าวล้วน กลุ่มที่ 2 กาบมะพร้าวผสมนุ่น และกลุ่มที่ 3 ผักตบชวาผสมนุ่น แล้วนำไปต้มกับน้ำอุณหภูมิปกติในเวลาที่ต่างกัน คือ 35,45,55 นาที ผลปรากฏว่าเนื้อเยื่อกระดาษที่ได้จากกาบมะพร้าวมีคุณภาพดีสามารถกรองฝุ่นควันในอากาศได้ดีที่สุด โดยต้มในเวลา 45 นาที และคุณภาพรองลงมาคือ 35 และ 55 นาที ส่วนเนื้อเยื่อจากกาบมะพร้าวผสมนุ่นและผักตบชวาผสมนุ่นมีคุณภาพรองลงมา ในการใช้งานจะนำเนื้อเยื่อแต่ละแผ่นมาวางซ้อนกันให้มีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อประสิทธิภาพในการกรองที่ดีขึ้น ตอนที่ 2 การประดิษฐ์ตัวเครื่องเพื่อดูดอากาศโดยใช้พัดลมดูดอากาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตรและตัวเครื่องทำจากแผ่นพลาสติกใสและไม้อัด โดยวางเครื่องฟอกอากาศนี้ไว้ในที่ที่เต็มไปด้วยควันสกปรก เมื่อเปิดเครื่อง พัดลมจะดูดอากาศเข้าไป และอากาศจะเดินทางผ่านเยื่อกรองอากาศที่ประดิษฐ์ขึ้น ทำให้สิ่งสกปรกต่าง ๆ ติดอยู่กับเยื่อกรองอากาศ แล้วต่อท่อจากทางออกของอากาศที่ผ่านการกรองแล้วเข้าไปสู่น้ำปูนใส เพื่อให้ตรวจสอบว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือไม่และสังเกตเปรียบเทียบกับอากาศที่ยังใช้ได้ กรองกับอากาศที่กรองแล้ว เมื่อนำกระป๋องที่บรรจุน้ำปูนใสออก ก็จะได้อากาศที่สะอาด เครื่องฟอกอากาศชีวภาพที่มีหลักการและทฤษฎีแบบง่าย ๆ นี้ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้