โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเทคนิคการขยายพันธุ์มะละกอโดยวิธีการต่อกิ่ง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับต่อกิ่งมะละกอ วิธีการทดลองศึกษามีขั้นตอนดังนี้คือ ใช้ต้นกล้าเป็นมะละกอพันธุ์พื้นเมือง ที่แข็งแรงทนทาน อายุประมาณ 80 วัน ส่วนต้นมะละกอพันธุ์ดีที่ต้องการขยายพันธุ์นั้น ต้องตัดยอดทิ้งเพื่อให้ได้กิ่งแขนงที่แตกออกจากตาข้างของต้นมะละกอก่อนที่จะนำไปทำการต่อกิ่ง จากนั้นตัดยอดกิ่งแขนงที่ได้โดยคัดเลือกให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/4 - 1/2 นิ้ว ยาว 4 - 6 นิ้ว มีอายุประมาณ 80 วัน เสียบลงบนต้นตอพันธุ์พื้นเมือง 3 รูปแบบ คือ 1.แบบลิ่ม (Cleft grafting) เป็นการเฉียนโดยกิ่งพันธุ์ดีทั้งสองข้างเป็นรูปลิ่ม โดยให้สีลิ่มด้านหนึ่งหนากว่าอีกด้านหนึ่ง แล้วเผยอรอยผ่าบนต้นตอเพื่อสอดลิ่มต้นพันธุ์ดีลงไป 2. แบบฝานบวบ (Spliced grafting) วิธีการคือเฉือนปลายกิ่งต้นตอให้เฉียงขึ้นยาว 1 - 1.5 นิ้ว แล้วเฉือนกิ่งพันธุ์ดีเฉียงลงให้แผลและองศาที่เฉียงพอดีกับต้นตอ 3. แบบเข้าเดือย (Saddle grafting) วิธีการคือ เฉือนต้นตอให้เฉียงขึ้นทั้งสองข้างเป็นรูปลิ่ม เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปง่ามพอเหมาะกับต้นตอ แล้วสวมกิ่งพันธุ์ดีคร่อมบนต้นตอ ทำการต่อกิ่งแบบละ 2 ชุด ชุดละ 10 ต้น พันรอยแผลด้วยพลาสติกรดน้ำต้นตอให้พอชุ่มใส่ในถุงพลาสติกขนาด 30 x 40 นิ้ว ปิดปากถุงตั้งทิ้งไว้ในที่มีแสง 40 - 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 21 วัน จากผลการทดลองพบว่า การต่อกิ่งแบบลิ่มและแบบฝานบวบมีเปอร์เซ็นต์การติด 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบบเข้าเดือยมีการติดเพียง 40 เปอร์เซ็นต์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐวิภา พรหมเนตร
ตะวัน กิตติวรเชฎฐ์
มนัสนันท์ นิลจรูญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กัญญารัตน์ พิมพ์จันทร์
พาวิน มะโนชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่2 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนบน
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(35) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การต่อกิ่ง มะละกอ
มะละกอ การขยายพันธุ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์