โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการตรวจหาสารฟอร์มาลีนปนเปื้อนในอาหาร

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการทดสอบสารฟอร์มาลีนในอาหารสดโดยใช้พืชในท้องถิ่น อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ ขวดเก็บสารตัวอย่าง ผ้ากรอง เครื่องชั่งสาร เครื่องปั่น กระดาษกรอง ถุงมือยาง หลอดทดลอง และหน้ากากป้องกันสารพิษ สารเคมีที่ใช้ได้แก่ แอลกอฮอล์ น้ำกลั่น น้ำประปา น้ำทะเล และฟอร์มาลีน ที่มีความเข้มข้นต่างๆ พืชที่ใช้ในการทดลองนี้ใช้ 40 ชนิด เช่น ใบกระเพรา กระเทียม ใบตำลึง ใบมะยม ฯลฯ วิธีการทดลองโดยนำพืชทั้ง 40 ชนิด ทดสอบกับสารละลายฟอร์มาลีนเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง ต่อมาทดสอบว่าส่วนใดของพืชและการสกัดสารจากพืชโดยวิธีใดจะให้ปฏิกิริยากับสารละลายฟอร์มาลีนได้รวดเร็วและชัดเจนที่สุด สุดท้ายหาสัดส่วนที่เหมาะสมต่อการนำสารไปใช้เพื่อทำการทดสอบกับอาหารที่มีในตลาดทั่วไปและการเก็บรักษา จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากใบมะยมเป็นสารสกัดเพียงชนิดเดียวที่สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายฟอร์มาลีนได้รวดเร็วและดีที่สุด โดยปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดจากใบมะยมกับสารละลายฟอร์มาลีนคือจะทำให้เกิดตะกอน โดยส่วนที่เหมาะสมต่อการสกัดสารเพื่อนำมาทดสอบกับสารละลายฟอร์มาลีนคือ ใบแก่ และพบว่าการสกัดสารจากใบมะยมแก่ โดยไม่ผ่านความร้อนจะทำให้เกิดตะกอนอย่างชัดเจนและรวดเร็วภายใน 2 นาที ในขณะที่เมื่อทำการสกัดสารโดยวิธีผ่านความร้อนหรือการต้มจะเกิดตะกอนหลังจากเวลาผ่านไป 5 นาทีและสารสกัดจากใบมะยมจะสามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายฟอร์มาลีนที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1 % ขึ้นไป ส่วนการนำไปใช้ทำได้โดยใช้ปริมาณใบมะยม 15 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วนก็เพียงพอในการใช้ตรวจสอบสารละลายฟอร์มาลีนได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • มัณฑนา พรมรักษ์

  • วรรณพร ต้นครองจันทร์

  • อมรา ขวัญใจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนราสิกขาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ฟอร์มาลีน

  • สารสกัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์