โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวุ้นลูกตาลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเป็นวุ้นของน้ำลูกตาลยี โดยมีวัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ น้ำ ปูนแดง น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย และลูกตาล สารเคมีที่ใช้ได้แก่ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมไฮดรอกไซด์ และหัวเชื้อวุ้นมะพร้าว อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ บีกเกอร์ แท่งแก้ว ผ้าขาวบาง วิธีการทดลองคือ นำวัตถุดิบดังกล่าวมาผสมกัน จากนั้นคนเพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปต้มในน้ำเดือดจนสุก แล้วเทใส่ถ้วย โดยลูกตาลนั้นนำมาใช้เฉพาะน้ำ แล้วหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำวุ้นลูกตาลให้มีรสชาติอร่อยและขึ้นรูปได้สวยงาม ผลการทดสอบพบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ถ้าใช้ปริมาณน้ำปูนใสมาก (สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์) จะทำให้วุ้นจับตัวและแข็งตัวได้ดี ขึ้นแผ่นได้สวยงาม และมีเนื้อนุ่ม สามารถคงตัวรูปอยู่ได้นาน และถ้าใช้ปริมาณน้ำปูนใสมากจะมีรสฝาดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย สัดส่วนมีดังนี้ น้ำลูกตาล 200 ml ต่อน้ำปูนใส 1 ถ้วยตวง น้ำตาล 5 ช้อนโต๊ะ และน้ำ 2 ถ้วยตวง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทนี สุวรรณโชติ
ศรนรินทร์ กาญจนะโนพินิจ
ศิริพร คำเกิด
ไกรศร ชีวไมตรีวงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
คนึงนิจ ภักดีวงศ์
อดิศักดิ์ เพชรสุก
อุษา ช่อผล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ลูกตาล
วุ้น
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์